Applied Environmental Research
Publication Date
2025-07-01
Abstract
โครงการสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพของสังคมพืช บริเวณสถานีวิจัยสิงแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา ได้ทำการศึกษารายละเอียดของความหลากหลายทางชีวภาพของสังคมพืชในปาดิบแล้ง และปาเต็งรัง ด้วยข้อมูลทุติยภูมิ เช่น รายงานการวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และการสำรวจ การรวบรวม และ เก็บข้อมูลภาคสนาม เพื่อนำมาซึ่งการวิเคราะห์ดรรชนีความหลากหลายทางสถิติด้วยระบบคอมพิวเตอร์และ เปรียบเทียบข้อมูลกับพื้นที่ศึกษาอื่นที่มีความสำคัญและ/หรือพื้นที่คุ้มครองอื่น ๆ การศึกษาครั้งนี้พบว่า สถานี วิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช หรือแหล่งสงวนชีวมณฑล ประกอบด้วยความหลากหลายทางชีวภาพมากมาย ควรที่จะได้รับการอนุรักษ์พื้นที่ศึกษาตั้งอยู่ในเขตอำเภอวังนำเขียว จังหวัดนครราชสีมา มีเนื้อที่ประมาณ 80 ตารางกิโลเมตร โดยมีสภาพป่าธรรมชาติที่มีลักษณะเด่นคงอยู่ในสภาพดีและสมบูรณ์ ซึ่งผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ป่าดิบแล้งมีความหนาแน่นเท่ากับ 744 ต้นต่อเฮกแตร์ มีชนิดพันธุ์ไม้ 136 ชนิด (สำหรับไม้ที่มีขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางระดับเพียงอกตั้งแต่ 10 เซนติเมตรขึ้นไป) โดยพบตะเคียนหินมีความหนาแน่นมากที่สุด และ พบกระเบากลักมีความถี่สูงหรือมีการกระจายตัวโดยทั่วพื้นที่ และไทรมีความเด่นสูงสุด และหากพิจารณาค่าดรรชนีความสำคัญของไม้ในป่าดิบแล้งพบว่า กระเบากลัก กัดลิ้น และตะเคียนหินเป็นพันธุ์ไม้ที่มีความ สำคัญที่สุดที่จะทำให้ระบบนิเวศของป่าดิบแล้งดีขึ้นหรือกล่าวไล้ว่าเป็นพันธุ์ไม้ที่เด่น และมีความสำคัญมาก สำหรับพื้นที่ป่าเต็งรังพบว่า มีความหนาแน่น 563 ต้นต่อเฮกแตร์มีจำนวนชนิดพันธุ์ไม้ 83 ชนิด (สำหรับไม้ ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางระดับเพียงอกตั้งแต่ 10 เซนติเมตรขึ้นไป) โดยพบว่า ต้นเต็งและรังมีความหนาแน่นสูงสุด ส่วนประดู่มีการกระจายตัวโดยทั่วพื้นที่ และต้นสองสลึงมีความเด่นในพื้นที่ป่าเต็งรัง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพันธุ์ไม้ ที่มีความเด่น และสำคัญในพื้นที่ปาเต็งรัง ได้แก่ ล้นเต็ง รัง และประดู่ สำหรับความหลากหลายทางชีวภาพ พิจารณาค่าดรรชนีโดย Shonnon-Weaver index (H) พบว่า ป่าดิบแล้งมีค่าเท่ากับ 5.322 ป่าเต็งรังมีค่า เท่ากับ 4.321 ซึ่งการศึกษาครั้งนี้สำรวจพบชนิดพันธุ์ไม้ในป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง รวมทั้งสิ้น 357 ชนิด (สำหรับไม้ทุกขนาด) โดยจำแนกเป็นพันธุ์ไม้ในป่าดิบแล้ง 66 วงศ์ 233 ชนิด ป่าเต็งรัง 53 วงศ์ 124 ชนิดเป็น ชนิดพันธุ์ไม้หวงห้ามธรรมดา 97 ชนิด และชนิดพันธุ์ไม้หวงห้ามพิเศษ 2 ชนิด ได้แก่ กำจัดต้น และจันทน์ขาว
First Page
21
Last Page
33
Recommended Citation
สัมพันธ์พานิช, พันธวัศ
(2025)
"ความหลากหลายทางชีวภาพของสังคมพืช บริเวณสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา (Biodiversity of Plant Community at Sakaerat Environmental Station, Nakhon Ratchasima Province),"
Applied Environmental Research: Vol. 27:
No.
2, Article 3.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/aer/vol27/iss2/3