•  
  •  
 

Applied Environmental Research

Publication Date

2025-01-01

Abstract

รายงานวิจัยเรื่อง "เครื่องมือทางสังคม : การจัดการขยะชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อแก้ไขปัญหาขยะชุมชน" มีวัตถุประสงค์อยู่ภายใต้กรอบแนวคิด 5Rs คือ Reduce การลดปริมาณขยะ ณ แหล่ง กำเนิด, Reuse การนำวัสดุใช้แล้วกลับมาใช้ซ้ำ, Recycle การนำวัสดุที่ไม่ใช้แล้วไปเปลี่ยนแปลงสภาพกลับมาใช้ใหม่, Reject หลีกเลี่ยง/ปฏิเสธใช้วัสดุยากต่อการกำจัด และ Response ตอบรับมาตรการที่นำเสนอด้วยการปฏิบัติตาม เพื่อนำกรอบแนวคิด 5Rs มาสร้างรูปแบบการจัดการขยะ 2 รูปแบบ คือ การคัด แยกขยะ และการเก็บขนขยะ โดยมีหลักการกำหนดรูปแบบดังนี้
รูปแบบการคัดแยกขยะชุมชน แบ่งขยะออกเป็น “ขยะธรรมดา” และ “ขยะอันตราย” ขยะธรรมดาแยกเป็น ขยะมีมูลค่า เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป เช่น ขาย หรือนำกลับมาใช้ใหม่ ขยะอินทรีย์ นำไปทำปุ๋ยหมัก/อาหารสัตว์และขยะอื่นๆ (ทิ้ง) เทศบาลนำไปกำจัดขยะอันตราย กำหนดให้มีการแยกทิ้ง ต่างหากและนำไปกำจัดด้วยวิธีพิเศษ
รูปแบบการเก็บขนขยะชุมชน การกำหนดรูปแบบการเก็บขนขยะ เพื่อที่จะควบคุมพฤติกรรม ของผู้ทิ้งขยะให้มีการคัดแยกขยะตามประเภท และใช้รูปแบบการเก็บขนขยะชุมชนเป็นตัวกำหนด ดังนี้
1. ขยะอินทรีย์ เก็บทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์
2. ขยะอื่นๆ (ทิ้ง) เก็บทุกวันอังคาร วันพฤหัสบดีและวันเสาร์
3. ขยะมีมูลค่า เก็บทุกวันอาทิตย์
4. ขยะอันตราย เก็บวันอาทิตย์ หรือเดือนละครั้งหรือสองครั้ง ขึ้นอยู่กับปริมาณของขยะอันตรายที่มี
สรุปประเด็นที่น่าสนใจ
เครื่องมือทางสังคม : ปัจจัยที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ
หลักสำคัญของเครื่องมือทางสังคม เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในชุมชน โดย มุ่งหมายให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ พฤติกรรม และความเคยชินของประชาชนที่เห็น ความสำคัญของปัญหาขยะชุมชน ปัจจัยความสำเร็จของการคัดแยกขยะจึงเป็นกระบวนการผลิตซ้ำทางความคิดและวัฒนธรรม กล่าวคือจะต้องสร้างกระแสและมีแรงจูงใจ ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาที่ต่อเนื่องมากพอ จึงจะประสบผลสำเร็จ
ข้อเสนอแนะ
1) ควรมีการประชาสัมพันธ์รูปแบบ สนับสนุน สร้างแรงจูงใจระยะยาวและต่อเนื่อง ให้ประชาชน มีทัศนคติที่ดีต่อการคัดแยกขยะ
2) ควรมีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะธรรมดาออกจากขยะอันตรายให้มาทขึ้น
3) เทศบาลต้องสร้างความมั่นใจในระบบเก็บขนที่ประชาขนคัดแยกประเภทขยะแล้วนำไปกำจัดได้อย่างถูกวิธี
4) ควรมีกิจกรรมต่อเนื่องกับขยะบางประเภทที่นำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น ขยะอินทรีย์ นำมา ทำปุ๋ยชีวภาพ เป็นต้น
5) ควรนำรูปแบบการคัดแยกขยะรูปแบบการเก็บขนขยะ ไปขยายผลใช้กับโรงเรียน หมู่บ้านที่สนใจ เพราะผลงานวิจัยนี้มีขั้นตอนการดำเนินการไว้อย่างชัดเจนแล้ว

First Page

39

Last Page

66

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.