•  
  •  
 

Applied Environmental Research

Publication Date

2025-01-01

Abstract

อุปกรณ์พาสสีพเป็นเครื่องมืออย่างง่ายในการเฝ้าระวังคุณภาพอากาศ อาศัยหลักการแพร่อย่าง อิสระของโมเลกุลสารมลพิษที่สนใจศึกษา และถูกดูดซับบนแผ่นกรองได้โดยไม่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า เมื่อนำมาวิเคราะห์สารที่ถูกดูดซับบนแผ่นกรอง และคำนวณตามกฎการแพร่ข้อแรกของฟิค สามารถหาความเข้มข้นสารมลพิษเฉลี่ยจากระยะเวลาที่รับสัมผัสไต้ การศึกษาเลือกไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เป็นตัวชี้วัดด้วยอุปกรณ์พาสสีพ โดยเลือกศึกษาปัจจัยที่เหมาะสมในการผลิตอุปกรณ์พาสสีพ การเก็บรักษาและทดสอบการใช้งานทั้งในบรรยากาศทั่วไป และในการเผ่าระวังการรับสัมผัสส่วนบุคคล สารเคมีที่เหมาะสมในการเคลือบแผ่นกรอง คือสารละลายผสมระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์กับโซเดียมไอโอไดด์ในเมธานอล โดยใช้แผ่นกรองใยแก้วเป็นสิงกีดขวางฝุ่นหรือสารมลพิษอื่น ซึ่งเงื่อนไขนี้ใช้ในการผลิตอุปกรณ์พาสสีพสำหรับการทดลองต่อ ๆ ไป โดยตรวจหาสารมลพิษที่ถูกดักจับไว้บนแผ่นกรองในรูปไนไตรต์ด้วยวิธียูวีสเปคโตรโฟโตมิเตอร์อุปกรณ์พาสสีพที่เตรียมมีอายุการใช้งานได้ดีภายใน 1 เดือนโดยสามารถเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิ ปกติ สำหรับการใช้งานอุปกรณ์พาสสิพจากการเปรียบเทียบกับวิธีตรวจวัด NO2 แบบแอคทีฟภายในอาคารได้ผลสอดคล้องกันเป็นอย่างดีเมื่อใช้เวลารับสัมผัส 290 และ 360 นาที ผลจากการนำอุปกรณ์ พาสีพผลิตตามวิธีที่เหมาะสมไปวัด NO2 เทียบกับการตรวจวัดโดยวิธีแบบเคมีลูมิเนสเซนต์ ในบรรยากาศทั่วไป ณ บริเวณสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศการเคหะแห่งชาติ และรามคำแหงของกรมควบคุมมลพิษระหว่างวันที่ 21 ก.พ.-7 มี.ค. 2546 โดยสัมผัสตัวอย่างอากาศใน 24 ชั่วโมง (n = 3, แบลงค์ = 7 ในแต่ละวัน) รวม 14 วัน พบว่ามีความสัมพันธ์กันปานกลาง ณ สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศการเคหะแห่งชาติ (y = 1.2035X - 0.3291, R2 = 0.647ึ7) ส่วนความสัมพันธ์ ณ สถานีตรวจวัดรามคำแหงพบว่ามีค่าต่ำกว่าเล็กน้อย (y = 0.59X + 9.8699, R2 = 0.6016) ทั้งนี้เนื่องมาจากการตรวจวัดในภาคสนามมีปัจจัยอื่นๆ ส่งผลต่อการดูดซับสารมลพิษบนอุปกรณ์พาสสีพ เช่น ความเร็วลม อุณหภูมิ เมื่อวัดปริมาณ NO2 ที่บุคคล กลุ่มตัวอย่างรับสัมผัสด้วยวิธีพาสสีพในช่วง 5 วันต่อเนื่อง สามารถนำมาใช้งานได้ดีเพราะมีขนาดเล็กและไม่รบกวนกิจกรรมปกติของกลุ่มตัวอย่าง

First Page

31

Last Page

38

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.