•  
  •  
 

Applied Environmental Research

Publication Date

2025-01-01

Abstract

ปัจจุบันปัญหามลพิษทางอากาศของประเทศไทย จัดเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญและทวีความ รุนแรงขึ้นทุกขณะ โดยเฉพาะปัญหาฝุ่นละอองในพื้นที่ที่มีอุตสาหกรรมเหมืองหิน และโม่บดหรือย่อยหิน ดังนั้นจึงได้ดำเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อระบบหายใจของเด็กที่อาศัยใน พื้นที่ดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราชุกของอาการทางระบบหายใจและสมรรถภาพปอดของนักเรียน ศึกษาความเข้มข้นของฝุ่นละออง และวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อค่าสมรรถภาพปอดของนักเรียน ในพื้นที่ที่มีอุตสาหกรรมเหมืองหิน และโม่ บดหรือย่อยหิน คือ โรงเรียนหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัด สระบุรี เป็นพื้นที่ศึกษา และพื้นที่ที่ไม่มีอุตสาหกรรมเหมืองหิน และโม่ บดหรือย่อยหิน คือ โรงเรียนบ้าน โคกตูม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เป็นพื้นที่เปรียบเทียบ ด้วยวิธีการศึกษาแบบภาคตัดขวาง (Cross sectional study) การศึกษานี้เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2545 ถึง กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 โดยดำเนินการตรวจวัดฝุ่นละอองภายในอาคาร ด้วยเครื่องวัดฝุ่นละอองแบบเคลื่อนย้ายได้ (รุ่น Grimm) และตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศด้วยเครื่อง High volume air sampler โดยแน่งเป็นฝุ่นละอองรวม (TSP) และฝุ่นละอองขนาดตากว่า 10 ไมโครเมตร (PM ) ควบคู่ไปกับการเก็บข้อมูลความชุกของอาการ ทางระบบหายใจด้วยแบบสอบถาม ตรวจวัดสมรรถภาพปอดด้วยมาตรวัดอัตราการไหลของอากาศหายใจออก (Peak flow meter) ในกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 ของโรงเรียนหน้าพระลานและ โรงเรียนบ้านโคกตูม จำนวน 371 และ 319 คน ตามลำดับ
ผลการศึกษาพบว่า โรงเรียนหน้าพระลานมีความเข้มข้นของฝุ่นละอองรวม และฝุ่นละอองขนาดต่ำกว่า 10 ไมโครเมตรเฉลี่ย 24 ชั่วโมงในบรรยากาศภายนอกอาคารอยู่ในช่วง 262.5-778.4 และ 77.7-393.7 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรตามลำดับ มีความเข้มข้นของฝุ่นละอองรวมและฝุ่นละอองขนาดตากว่า 10 ไมโครเมตรเฉลี่ย 8 ชั่วโมงในอาคารอยู่ในช่วง 496.3-1,226.7 และ 322.8-691.3 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรตามลำดับ ขณะพี่โรงเรียนบานโคกตูมมีความเข้มข้นของมีนละอองรวมและมีนละอองขนาด ตากว่า 10 ไมโครเมตรเฉลี่ย 24 ชั่วโมงในบรรยากาศภายนอกอาคารอยู่ในช่วง 48.7-126.4 และ 35.9-100.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรตามลำดับ มีความเข้มข้นของมีนละอองขนาดตากว่า 10 ไมโครเมตรเฉลี่ย 8 ชั่วโมง ในอาคารอยู่ในช่วง 36.9-200.6 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ข้อมูลด้านสุขภาพ พบว่านักเรียนโรงเรียน หน้าพระลานมีความชุกของอาการทางระบบหายใจสูงกว่า นักเรียนโรงเรียนบ้านโคกตูมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติทุกกลุ่มอาการ และข้อมูลสมรรถภาพปอดพบว่า นักเรียนโรงเรียนหน้าพระลานมีค่าสมรรถภาพ ปอดตากว่าโรงเรียนบ้านโคกตูมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งปัจจัยพี่มีผลต่อค่าสมรรถภาพปอดของนักเรียน ในพื้นที่ที่มีและไม่มีอุตสาหกรรมเหมืองหิน และโม่ บดหรือย่อยหินอย่างมืนัยสำคัญทางสถิติคือ เพศ อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง และระยะห่างของพี่อยู่อาศัยจากเหมืองหินหรือโรงโม่หิน

First Page

1

Last Page

12

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.