Applied Environmental Research
Publication Date
2024-07-01
Abstract
บทความเรื่องระบบการติดตามข้อมูลการนำเข้าสารเคมีอันตรายของประเทศไทยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการการสร้างระบบประสานงานข้อมูลการนำเข้าสารเคมีอันตรายซึ่งเป็นงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนการศึกษาจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีสร้างรูปแบบประสานงานและระบบการติดตามข้อมูลการนำเข้าสารเคมีและวัตถุอันตรายตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตรายพ.ศ.2535 พระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์พ.ศ.2530 และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้องหน่วยงานที่ร่วมดำเนินงานได้แก่ กรมศุลกากร และหน่วยงานที่มีหน้าที่ควบคุมการนำเข้าวัตถุอันตราย 5 หน่วยงาน คือ กรมโรงงาน อุตสาหกรรมกรมวิชาการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมประมง และกรมการอุตสาหกรรมทหาร ในการนำเสนอบทความนี้ มีข้อสรุป 3 ส่วนที่สำคัญคือ 1) ผลงานจากการศึกษาคือการจำแนกพิกัดรหัสสถิติสินค้าสารเคมีให้มีความชัดเจนและเกิดประโยชน์ในการติดตามสาร เคมีเฉพาะรายการ โดยเฉพาะสารเคมีที่มีการควบคุมตามกฎหมาย ซึ่งเป็นไปตามความประสงค์ของหน่วยงานควบคุมโดยไม่กระทบกระเทือนกับระบบฮาร์โมไนซ์ที่กรมศุลกากรใช้อยู่รวมทั้งสิน2,117รหัสและจัดทำเป็นฐานข้อมูลวัตถุอันตรายซึ่งมีรายการสารควบคุมตามกฎหมาย1,667รหัสและที่ไม่ใช่สารควบคุมตามกฎหมาย 450 รหัสผลจากการจำแนกรหัสสถิติใหม่ทำให้ทราบชนิดและปริมาณนำเข้าของสารอันตรายซึ่งเป็นสารควบคุมแต่ไม่เคยมีการติดตามได้มาก่อนเช่นสารที่ต้องควบคุมตามอนุสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ ได้แก่ สารที่ควบคุมตามบัญชีสารเคมีตามอนุสัญญาว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้า (PIC) และ สารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (POPs) เป็นต้น 2) มีการสร้างฐานข้อมูลเลขที่เอกสารสำคัญ 15 หลัก ซึ่งระบุหน่วยงานชนิดเอกสารสำคัญ ชนิดวัตถุอันตราย เลขที่เอก สารสำคัญ และปี พ.ศ. เพื่อใช้ตรวจสอบการนำเข้า ของหน่วยงานต่างๆ ที่มีหน้าที่ควบคุมการนำเข้าวัตถุอันตรายตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดระบบติดตามการนำเข้าสารอันตรายที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน 3) มีการสร้างระบบการตรวจสอบข้อมูลสารเคมีอันตรายโดยกรมศุลกากรสามารถรายงานสถิติการนำเข้าของสารควบคุมที่มีพิกัดรหัสสถิติชัดเจนว่าเป็นการนำเข้าโดยการอนุญาตของหน่วยงานควบคุมหน่วยใดและอ้างอิงกับเอกสารสำคัญฉบับใด โดยการตรวจสอบจากฐานข้อมูลวัตถุอันตราย และ ฐานข้อมูลเลขที่เอกสารสำคัญ 15 หลัก ขณะเดียวกันหน่วยงานควบคุมแต่ละหน่วยงานสามารถใช้ตัวเลขรายงานของกรมศุลกากรตรวจสอบเชิงลึกในการดำเนินงานของหน่วยงานควบคุมในการให้อนุญาตนำเข้าสารเคมีอันตรายที่มีการควบคุมตามกฎหมาย การศึกษามีข้อเสนอแนะให้มีการติดตามการดำเนินงานเพื่อประเมินผลและปรบปรุงระบบให้สามารถใช้ประโยชน์ต่อเนื่องใน การติดตามการนำเข้า ในขณะเดียวกันสามารถขยายไปสู่การติดตามการผลิต การส่งออก และ การครอบครองวัตถุอันตรายต่อไป
First Page
85
Last Page
98
Recommended Citation
พฤฒิถาวร, วรรณี
(2024)
"ระบบการติดตามข้อมูลการนำเข้าสารเคมีอันตรายของประเทศไทย,"
Applied Environmental Research: Vol. 26:
No.
2, Article 8.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/aer/vol26/iss2/8