Applied Environmental Research
Publication Date
2024-07-01
Abstract
สารกีดขวางช่องโซเดียม (SCB) จัดเป็นสารที่ไม่ใช่โปรตีนและมีผลต่อระบบประสาทที่สร้างจากแบคทีเรียหลายสปีชีส์ เมื่อนำ Vibrio alginolyticus ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สร้างสารกีดขวางช่องโซเดียมที่แยกได้จากหอยทรายที่มีพิษ (Asaphis violascens) มาเพาะเลี้ยงในน้ำสกัดจากหอยสองฝาที่มีพิษและไม่มีพิษ และอาหารเลี้ยงเชื้อสังเคราะห์ (L-medium) ที่เติม K2HPO4 ความเข้มข้นต่างๆ กัน พบว่า V. alginolyticus ที่เพาะเลี้ยงในน้ำสกัดจาก หอยทรายในช่วงที่มีพิษสูงสามารถผลิตสาร SCB ได้สูงถึง 51.9ไมโครกรัมต่อลิตร แต่เชื้อมีการเจริญต่ำกว่าการเพาะเลี้ยงในอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดอื่น เนื่องจากน้ำสกัดจากหอยทรายมีปริมาณฟอสเฟตต่ำ (0.084 กรัมต่อลิตร) แสดงว่า การเลี้ยง V. alginolyticus ในน้ำสกัดจากหอยทรายที่มีปริมาณฟอสเฟตต่ำสามารถชักนำการสร้าง SCB ไต้ นอกจากนี้ยังพบว่า V. alginolyticus มีการเจริญเติบโตดีในอาหารเลี้ยงเชื้อ L-medium ที่มี K2HPO4 สูง (3.0 กรัม ต่อลิตร) แต่มีการสร้างสาร SCB ในระดับต่ำ (4.7 ไมโครกรัมต่อลิตร) ซึ่งจากผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าฟอสเฟตที่ความเข้มซ้นสูงมีผลในการยับยั้งการสร้างสาร SCB แต่ส่งเสริมการเจริญของแบคทีเรียสร้างพิษ
First Page
47
Last Page
56
Recommended Citation
ประภักดี, เบญจภรณ์; ศุภกา, ณัฐพันธุ์; and จันทองจีน, กาญจณา
(2024)
"ผลของความเข้มข้นฟอสเฟตในน้ำสกัดจากหอยสองฝาและอาหารเลี้ยงเชื้อสังเคราะห์ต่อการสร้างสารกีดขวางช่องโซเดียมโดย Vibrio alginolyticus,"
Applied Environmental Research: Vol. 26:
No.
2, Article 5.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/aer/vol26/iss2/5