Applied Environmental Research
Publication Date
2024-07-01
Abstract
การสกัดแบบขุ่นถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อสกัดโทลูอีนออกจากน้ำเสียโดยใช้สารลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุเป็นสารสกัดโดยเมื่ออุณหภูมิของสารละลายของสารลดแรงตึงผิวสูงกว่าจุดขุ่นสารละลายจะแบ่งวัฏภาคออกเป็นสองวัฏภาค ประกอบด้วยวัฏภาคที่มีไมเซลล์จำนวนมากและวัฏภาคที่มีไมเซลล์จำนวนน้อย ซึ่งจำนวนไมเซลล์นี้เองเป็นตัวบ่งชี้ถึงปริมาณสารปนเปื้อนที่ถูกสกัดได้เพราะสารปนเปื้อนสามารถละลายอยู่ในไมเซลล์ในงานวิจัยนี้มีการขยายขนาดการ สกัดจากการสกัดแบบกะในหลอดทดลองขนาดเลิกเป็นการสกัดแบบต่อเนื่องในหอสกัดนำร่องแบบจานหมุน (rotating disc contactor) พบว่าความเร็วรอบการกวนและอุณหภูมิที่ใช้สกัดมีผลต่อประสิทธิภาพการสกัด กล่าวคือเมื่อความเร็วรอบการกวนสูงขึ้นจากที่ไม่มีการกวนเป็น 150 รอบต่อนาที ความเข้มข้นของโทลูอีนในน้ำที่บำบัดแล้วมีค่าลดลงจากความ เข้มข้นเริ่มต้นของโทลูอีนในน้ำเสีย 100 ส่วนในน้ำล้านส่วนเป็น 12 ส่วนในน้ำล้านส่วน หรือร้อยละ 88 ของโทลูอีน ถูกสกัดแยกออกจากน้ำเสียที่อุณหภูมิการสกัด 40°C เมื่อเพิ่มอุณหภูมิการสกัดเป็น 50 °C ที่ความเร็วรอบการกวน 150 รอบต่อนาที พบว่าสามารถลดความเข้มข้นของโทลูอีนในน้ำเสียเหลือเพียง 8 ส่วนในน้ำล้านส่วนเท่านั้นหรือร้อยละ 92 ของ โทลูอีน ถูกสกัดแยกออกจากน้ำเสีย
First Page
23
Last Page
32
Recommended Citation
เวชยันต์วิวัฒน์, ปัญจพร; โอสุวรรณ, สมชาย; and Scamehorn, John F.
(2024)
"การสกัดโทลูอีนออกจากน้ำเสียแบบต่อเนื่องโดยใช้สารลดแรงตึงผิว ชนิดไม่มีประจุ ในหอสกัดแบบจานหมุน,"
Applied Environmental Research: Vol. 26:
No.
2, Article 3.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/aer/vol26/iss2/3