•  
  •  
 

Applied Environmental Research

Publication Date

2024-07-01

Abstract

งานวิจัยนี้ศึกษาถึงประสิทธิภาพในการบำบัด BOD, TKN และ TSS ของพื้นที่ชุ่มน้ำที่สร้างขึ้นแบบไหลอิสระเหนือผิวดินในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานน้ำยางข้นที่ผ่านการบำบัดมาแล้ว โดยทำการเปรียบเทียบระดับน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำที่สร้างขึ้น 3 ระดับ คือ 0.15,0.30 และ 0.45 เมตร และการใช้พืชสองชนิด คือ ต้นธูปฤาษี (Typha angustifolia) และต้นบอน (Colocasia esculenta) ซึ่งทำการเปรียบเทียบกับพื้นที่ชุ่มน้ำที่ไม่ปลูกพืชใดๆ พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีต้นบอนและมีระดับน้ำ 0.15 เมตร มีประสิทธิภาพในการลดค่า BOD5 ได้ดีที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยของประสิทธิภาพเท่ากับร้อยละ 79.95 ± 4.90 ส่วนพื้นที่ ชุ่มน้ำที่ปลูกต้นธูปฤาษีมีประสิทธิภาพในการกำจัด BOD5 ค่อนข้างต่ำ ส่วนประสิทธิภาพในการกำจัด TKN ของพื้นที่ ชุ่มน้ำที่มีต้นธูปฤาษี และพื้นที่ชุ่มน้ำที่ไม่ปลูกพืชใดๆ มีค่าใกล้เคียงกันในระดับน้ำทุกระดับ และประสิทธิภาพดีกว่าพื้นที่ ชุ่มน้ำที่มีต้นบอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยประสิทธิภาพของพื้นที่ชุ่มน้ำที่ระดับ 0.15เมตร ที่มีต้นธูปฤาษีไม่มีพืช และ ต้นบอน เท่ากับ 65.63±9.17,67.26±6.24และ 62.40±9.89 ตามลำดับ โดยทั่วไปพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีพืชสามารถลดปริมาณ ของ TSS ได้ดีกว่าพื้นที่ชุ่มน้ำที่ไม่มีพืช โดยพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งมีระดับน้ำ 0.15 เมตร และมีต้นบอนให้ประสิทธิภาพสูงสุด คือ ร้อยละ 85.93±5.56

First Page

13

Last Page

22

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.