Applied Environmental Research
Publication Date
2024-07-01
Abstract
งานวิจัยนี้ศึกษาถึงประสิทธิภาพในการบำบัด BOD, TKN และ TSS ของพื้นที่ชุ่มน้ำที่สร้างขึ้นแบบไหลอิสระเหนือผิวดินในการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานน้ำยางข้นที่ผ่านการบำบัดมาแล้ว โดยทำการเปรียบเทียบระดับน้ำในพื้นที่ชุ่มน้ำที่สร้างขึ้น 3 ระดับ คือ 0.15,0.30 และ 0.45 เมตร และการใช้พืชสองชนิด คือ ต้นธูปฤาษี (Typha angustifolia) และต้นบอน (Colocasia esculenta) ซึ่งทำการเปรียบเทียบกับพื้นที่ชุ่มน้ำที่ไม่ปลูกพืชใดๆ พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีต้นบอนและมีระดับน้ำ 0.15 เมตร มีประสิทธิภาพในการลดค่า BOD5 ได้ดีที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยของประสิทธิภาพเท่ากับร้อยละ 79.95 ± 4.90 ส่วนพื้นที่ ชุ่มน้ำที่ปลูกต้นธูปฤาษีมีประสิทธิภาพในการกำจัด BOD5 ค่อนข้างต่ำ ส่วนประสิทธิภาพในการกำจัด TKN ของพื้นที่ ชุ่มน้ำที่มีต้นธูปฤาษี และพื้นที่ชุ่มน้ำที่ไม่ปลูกพืชใดๆ มีค่าใกล้เคียงกันในระดับน้ำทุกระดับ และประสิทธิภาพดีกว่าพื้นที่ ชุ่มน้ำที่มีต้นบอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยประสิทธิภาพของพื้นที่ชุ่มน้ำที่ระดับ 0.15เมตร ที่มีต้นธูปฤาษีไม่มีพืช และ ต้นบอน เท่ากับ 65.63±9.17,67.26±6.24และ 62.40±9.89 ตามลำดับ โดยทั่วไปพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีพืชสามารถลดปริมาณ ของ TSS ได้ดีกว่าพื้นที่ชุ่มน้ำที่ไม่มีพืช โดยพื้นที่ชุ่มน้ำซึ่งมีระดับน้ำ 0.15 เมตร และมีต้นบอนให้ประสิทธิภาพสูงสุด คือ ร้อยละ 85.93±5.56
First Page
13
Last Page
22
Recommended Citation
ศรีสถิตย์, ธเรศ; รักษ์เผ่า, ทรงพล; and ไพริน, จิรายุ
(2024)
"ประสิทธิภาพของบอนและธูปฤาษีในพื้นที่ชุ่มน้ำที่สร้างขึ้นเพื่อบำบัดน้ำเสีย จากระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรมน้ำยางข้น,"
Applied Environmental Research: Vol. 26:
No.
2, Article 2.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/aer/vol26/iss2/2