Applied Environmental Research
Publication Date
2024-07-01
Abstract
งานวิจัยนี้ได้ศึกษาปัจจัยการผลิตดินเผาดูดซับจากดินเหนียวและขี้เลื่อย ประสิทธิภาพในการดูดซับไอออนแคดเมียมของดินเผาดูดซับที่ผลิตได้โดยการแปรผันค่าพีเอช (pH) การชะไอออนออกด้วยสารละลายกรดและน้ำกลั่น หาลักษณะทางกายภาพและทางเคมี การหาประสิทธิภาพในคอลัมน์ดูดซับ และได้ทำการเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูดซับระหว่างถ่านกัมมันต์กับดินเผาดูดซับที่ผลิตได้ ทำการศึกษาปัจจัยการผลิตดินเผาดูดซับโดยการแปรผันอุณหภูมิการเผาปริมาณสัดส่วนโดยน้ำหนักระหว่างดินเหนียวและขี้เลื่อย และอัตราการเพิ่มอุณหภูมิในการเผา พบว่าดินเผาดูดซับที่เหมาะสมในการดูดซับจาก 120 ตัวอย่าง ในเงื่อนไขที่สามารถดูดซับไอออนแคดเมียมได้ดีและมีความคงรูป คือดินเผาดูดซับที่ผลิตจากปริมาณสัดส่วน โดยน้ำหนักระหว่างดินเหนียวและขี้เลื่อยที่ 10 ต่อ 90 ซึ่งผ่านการเผาแบบไร้ออกซิเจนที่อุณหภูมิ 600 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที อัตราการเพิ่มอุณหภูมิ 3 องศาเซลเซียสต่อนาที โดยสามารถกำจัดไอออนแคดเมียมได้ร้อยละ 83.95 ซึ่ง มากกว่าถ่านกัมมันต์อยู่ร้อยละ 23.05 ทำการศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับ พบว่าสามารถดูดซับไอออนแคดเมียมได้ภายในเวลา 8 ชั่วโมง เมื่อวิเคราะห์ค่าปริมาณการดูดซับสูงสุด (qmax)ซึ่งผลการทดลองการดูดซับเหมาะสมกับสมการการดูดซับแบบฟลุนดริช (Freundlich equation) ดินเผาดูดซับสามารถดูดซับไอออนแคดเมียมที่พีเอช 3.28, 6, 7, 8 และ 9 ได้ 4.079, 2.909, 1.724,3.257 และ 6.304มิลลิกรัม/กรัมดินเผาดูดซับ ตามลำดับ ส่วนที่พีเอช 3.28 ถ่านกัมมันต์มีค่า qmax เท่ากับ 3.516 มิลลิกรัม/กรัมถ่านกัมมันต์การศึกษาการชะละลายของดินเผาดูดซับหลังจากใช้งานแล้วโดยการชะด้วยสารละลายกรดอ่อน (พีเอช 5 ) และน้ำกลั่นที่ 24 ชั่วโมง พบว่าเมื่อชะด้วยสารละลายกรดอ่อน (พีเอช 5) มีแคดเมียมถูกชะออกมาสูงสุดเพียงร้อยละ 2.7 และไม่สามารถถูกชะออกมาได้เลยด้วยน้ำกลั่น การทดลองประสิทธิภาพในการกำจัดแคดเมียมในน้ำเสียสังเคราะห์ที่พีเอช 8 ความเข้มข้นแคดเมียม 1 มิลลิกรัม/ลิตร ด้วยคอลัมน์ที่ระดับความลึกของดินเผาดูดซับ 30, 60 และ 90 เซนติเมตร พบว่าที่จุดหมดสภาพมีน้ำเสียไหลผ่านชั้นดินเผาดูดซับไปทั้งสิน 2395.9, 2985.7 และ 2408.2 เท่าของปริมาตรของคอลัมน์ ตามลำดับ
First Page
1
Last Page
12
Recommended Citation
ศรีสถิตย์, ธเรศ and คงสืบชาติ, กิตตินันท์
(2024)
"ดินเผาดูดชับจากดินเหนียวและขี้เลื่อยเพื่อการดูดซับแคดเมียมในน้ำเสียสังเคราะห์,"
Applied Environmental Research: Vol. 26:
No.
2, Article 1.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/aer/vol26/iss2/1