Applied Environmental Research
Publication Date
2024-01-01
Abstract
การศึกษาผลของสารเคมีที่ใช้ในการกระตุ้นเพื่อเตรียมถ่านกัมมันต์จากขี้เลื่อยในครั้งนี้ สารเคมีที่ใช้คือ NaCI และ ZnCI2 โดยทำการทดลองเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนโดยน้ำหนักของขี้เลื่อยต่อสารเคมี และอุณหภูมิที่ใช้เผากระตุ้นจากนั้น ศึกษาคุณสมปติของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมได้ทั้งสองชนิด แล้วคัดเลือกถ่านกัมมันต์ตัวที่มีความเหมาะสมที่สุดของแต่ละชนิดนำไปทดสอบประสิทธิภาพการกำจัดตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์ผลการทดลองพบว่าการเตรียมถ่านกัมมันต์สภาวะที่เหมาะ สมโดยใช้ NaCI เป็นตัวกระตุ้น คือใช้น้ำหนักของขี้เลื่อยต่อ NaCI = 1:1 และเผากระตุ้นที่ 800 °C เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ส่วนการกระตุ้นด้วย ZnCI2 ใช้น้ำหนักของขี้เลื่อยต่อ ZnCI2 = 1 : 1 และเผากระตุ้นที่ 700 °C เป็นเวลา 1 ชั่วโมง เช่นกัน จากนั้นทำการล้างสารเคมีออกด้วยน้ำร้อนและกรดเจือจาง ถ่านกัมมันต์ที่ได้มีค่าไอโอดีนนัมเบอร์เท่ากับ 519.4 และ 1,021.3 mg/g ตามลำดับ มีค่าพื้นที่ผิวเท่ากับ 593.79 และ 1,572.51 m2/g ตามลำดับ ถ่านกัมมันต์ที่กระตุ้นด้วย NaCI มีความสามารถในการกำจัดตะกั่ว (ความเข้มข้น 10 mg/L) ที่ pH 8 เท่ากับ 9.96 mg/g ของถ่านกัมมันต์ และถ่านกัมมันต์ที่กระตุ้นด้วย ZnCI2 มีความสามารถในการกำจัดตะกั่ว (ความเข้มข้น 10 mg/L) ที่ pH 7 เท่ากับ 99.7 mg/g ของถ่านกัมมันต์ การทดลองประสิทธิภาพการกำจัดตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์ด้วยถังดูดติดผิวแบบแท่งที่ระดับความลึกของถ่านกัมมันต์ 30, 60, 90 และ 120 cm พบว่าที่จุด Breakthrough สามารถกำจัดตะกั่วในน้ำเสียสังเคราะห์ความเข้มข้น 10 mg/L ได้เท่ากับ 1.21, 14.17, 186.04 และ 209.17 ลิตร ลำหรับถ่านกัมมันต์ที่กระตุ้นด้วย NaCI และได้เท่ากับ 4.0, 21.5, 337.25 และ 829.5 ลิตร สำหรับถ่านกัมมันต์ที่กระตุ้นด้วย ZnCI2
First Page
85
Last Page
98
Recommended Citation
ศรีสถิตย์, ธเรศ; แทนสถิตย์, เปรมจิตต์; and ติระรัตนสมโภช, มานพ
(2024)
"การศึกษาผลของสารเคมี (NaCl และ Zncl2) ที่ใช้การกระตุ้นในการเตรียมถ่านกัมมันต์จากขี้เลื่อย,"
Applied Environmental Research: Vol. 26:
No.
1, Article 6.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/aer/vol26/iss1/6