Applied Environmental Research
Publication Date
2024-01-01
Abstract
การมีสารคีเลตในน้ำเสียทำให้การกำจัดโลหะด้วยวิธีการตกตะกอนมีประสิทธิภาพลดลง เนื่องจากการเกิดสารประกอบเชิงซ้อนของโลหะกับสารคีเลต ซึ่งทำให้คุณสมบัติในการตกผลึกและการละลายน้ำของโลหะเปลี่ยนไปการวิจัยนี้ได้ท้าการศึกษาผลของสารคีเลตต่อการดูดซับตะกั่วจากสารละลายด้วยไคโตแซนแบบโครงร่างตาข่ายโดยการ ทดลองแบบแบตซ์และคอลัมน์ ผลการทดลองในแบตซ์พบว่า ความสามารถในการดูดซับตะกั่วด้วยไคโตแซนแบบโครงร่างตาข่ายสูงขึ้นเมื่อพีเอชสูงขึ้นในช่วงพีเอชที่ทำการศึกษา และการเพิ่มความเข้มข้นของสารละลายตะกั่วทำให้ปริมาณตะกั่วที่ถูกดูดซับต่อปริมาณไคโตแซนเพิ่มขึ้นตามไปด้วย สำหรับผลการศึกษาผลของสารคีเลต พบว่าความ สามารถในการดูดซับตะกั่วด้วยไคโตแซนแบบโครงร่างตาข่ายที่พีเอชสูงลดลงในขณะที่ความสามารถในการดูดซับตะกั่ว ที่พีเอชต่ำเพิ่มขึ้นเมื่อเดิมอีดีทีเอหรือเอ็นทีเอลงไปในน้ำเสียสังเคราะห์ ส่วนการเดิมกรดทาทาริกลงไปน้ำเสียสังเคราะห์ไม่มีผลต่อความสามารถในการดูดซับตะกั่วโดยไคโตแซนการทดลองแบบคอลัมน์พบว่าสามารถบำบัดน้ำเสียให้มีความ เข้มข้นต่ำกว่ามาตรฐานน้ำทิ้งได้ภายในปริมาตร 88.89 ปริมาตรเบด โดยมีประสิทธิภาพในการกำจัด 91.40%
First Page
75
Last Page
84
Recommended Citation
อาสนจินดา, เอมม่า; ขาวเธียร, สุธา; and ไชยคุนา, เจิดศักดิ์
(2024)
"ผลของสารคีเลตต่อการดูดซับตะกั่วจากสารละลายด้วยไคโตแซนแบบโครงร่างตาข่าย,"
Applied Environmental Research: Vol. 26:
No.
1, Article 5.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/aer/vol26/iss1/5