•  
  •  
 

Applied Environmental Research

Publication Date

2024-01-01

Abstract

การศึกษานี้เป็นการศึกษาภาคตัดขวาง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเสียงจากการจราจร กับการตอบสนองของประชาชนในชุมชน เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดมาตรฐานเสียงรบกวนที่เกิดจากการจราจรในย่านพานิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ การเก็บข้อมูลใช้เครื่องตรวจวัดเลียง (Sound level meter) ยี่ห้อ NA-27 type 1 วัดระดับเสียงเฉลี่ย 15ชั่วโมง (Leq15 hr) และ ระดับเสียง percentile ที่ 10 (L10) รวม 6 จุด โดยแต่ละจุดจะวัดทั้งวันธรรมดาและวันหยุดราชการ ในช่วงระยะเวลา 07.00-22.00 น. และขณะวัดเสียงในชุมชนจะสัมภาษณ์ประชาชนที่อาศัยอยู่รอบพื้นที่ศึกษาจำนวน 246 คนเกี่ยวกับลักษณะประชากรบ้านพักอาศัยความไวต่อเสียง โรคประจำตัวและโรคทางหูผดกระทบและความรำคาญจากเสียง และสุขภาพจิต ผลการศึกษาพบ ความสัมพันธ์ระหว่างความรำคาญกับระดับเสียงเฉลี่ย 15 ชั่วโมง เป็นแบบแปรผันตรงด้วย ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์0.8292 และจากการวิเคราะห์ด้วยสถิติพหุคูณพบปัจจัยเพิ่มความรำคาญได้แก่ การประกอบอาชีพลูกจ้างหรือนักเรียนนักศึกษา แหล่งเสียงภายนอกบ้าน ความคิดเห็นว่าเสียงเป็นมลภาวะระดับมากและมากที่สุด เสียงจราจรที่รบกวนการทำงานและการนอนหลับ ส่วนปัจจัยลดความรำคาญได้แก่ ลักษณะที่พักอาศัยแบบตึกแถว แต่ปัจจัยอื่นๆไม่มีผล เมื่อนำค่าความน่าจะเป็นที่ได้จากสมการปรุงปรับเพื่อลดอิทธิพลตัวแปรกวนต่างๆมาพล็อตกับระดับความรำคาญ โดยใช้แบบจำลองถดถอยเชิงเส้นอย่างง่ายพบว่า ระดับเสียงที่ทำให้คนร้อยละ 20 เกิดความรู้สึกรำคาญมีค่า 68.2 เดซิเบล

First Page

1

Last Page

18

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.