Applied Environmental Research
Publication Date
2023-07-01
Abstract
การศึกษาการบำบัดโลหะในน้ำเสียจากห้องปฏิบัติการวิเคราะห์คุณภาพน้ำด้วยชานอ้อย มีวัตถุประสงค์ในการ ศึกษาประสิทธิภาพในการดูดซับ สภาวะที่เหมาะสม และค่าใช้จ่ายในการบำบัด ซึ่งโลหะที่ปนเปื้อนในน้ำเสีย ได้แก่ โครเมียม, แมกนีเซียม, เหล็ก, แมงกานีส, แคดเมียม, เงิน และปรอท ทำการวิเคราะห์ด้วยเครื่อง Inductively Coupled Plasma (ICP) และ Mercury Analyzer และทำการทดสอบนัยสำคัญของข้อมูลด้วยวิธี Turkey's Honesty Significant Difference (HSD) ที่ความเชื่อมั่น 95% (p < 0.05) จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า สภาวะที่เหมาะสมในการบำบัดโลหะ ได้แก่ พีเอช 9 ปริมาณชานอ้อย 25 กรัมต่อลิตร และระยะเวลาในการสัมผัส 90 นาที กลุ่มชานอ้อยที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดสูงที่สุด คือ ชานอ้อยที่ ปรับสภาพ ขนาด 0.045-1.00 มม. และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) จากชานอ้อยกลุ่มอื่นๆ ซึ่งความเข้มข้นของโลหะภายหลังจากการบำบัดในสภาวะที่เหมาะสม ได้แก่ แคดเมียม 0.021 มก./ลิตร, โครเมียม 0.053 มก./ลิตร, เหล็ก 0.078 มก./ลิตร, ปรอท 3.010 มก./ลิตร, แมกนีเซียม 35.920 มก./ลิตร, แมงกานีส 77.100 มก./ลิตร และเงินไม่สามารถตรวจวัดได้
First Page
35
Last Page
52
Recommended Citation
โกษะโยธิน, กนกพร; อรุณเลิศอารีย์, จำลอง; สังข์เพชร, รอัจฉราพร; and ปัญญาวัฒนกิจ, ภัทรา
(2023)
"การบำบัดโลหะในน้ำเสียจากห้องปฏิบัติการวิเคราะห์คุณภาพน้ำด้วยชานอ้อย,"
Applied Environmental Research: Vol. 25:
No.
2, Article 4.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/aer/vol25/iss2/4