Applied Environmental Research
Publication Date
2023-07-01
Abstract
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงอิทธิพลของความเค็มและอัตราการรับน้ำเสียเข้าระบบบำบัดน้ำเสียแบบพื้นที่ชุ่มน้ำเทียมต่อการปลดปล่อยก๊าซมีเทน โดยใช้ความเค็มในรูปของค่าการนำไฟฟ้า (Electrical Conductivity) สูงถึงระดับ 16 dS/m. และควบคุมระยะเวลาของน้ำเสียให้อยู่ในระบบบำบัด 2-5 วัน ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยของการปลดปล่อยก๊าซมีเทน มีค่าอยู่ในช่วง 4.0-75.7 มก./ตร.ม./ชม. ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซมีเทนลดลง 40-50% เมื่อน้ำเสียมีความเค็ม 16 dS/m. เนื่องจากความเค็มยับยั้งกิจกรรมของแบคทีเรียและการเจริญเติบโตของพืชนอกจากนี้ยังพบว่าบริเวณที่อยู่ใกล้กับตำแหน่งที่ปล่อยน้ำเสียเข้าสู่ระบบจะมีการปลดปล่อยก๊าซมีเทนที่สูงกว่า ทั้งนี้เนื่องจากมีปริมาณสารอินทรีย์สะสมอยู่ในบริเวณดังกล่าวมากกว่า อย่างไรก็ตาม การเพิ่มปริมาณสารอินทรีย์ลงในน้ำเสียจะไม่ส่งผลให้มีการปลดปล่อยก๊าชมีเทนที่สูงขึ้นในช่วงเวลากลางวัน เนื่องจากน้ำเสียในระบบมีความลึกไม่มากนักประกอบกับการเกิดกระบวนการสังเคราะห์แสง ซึ่งส่งผล ให้เกิดสภาวะ aerobic ในบริเวณชั้นน้ำ
First Page
25
Last Page
34
Recommended Citation
แก้วแถมทอง, นิสา and นิติศรวุฒิ, สุวันชัย
(2023)
"อิทธิพลของความเค็มและอัตราการรับน้ำเสียต่อการปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากระบบบำบัดน้ำเสียแบบพื้นที่ชุ่มน้ำเทียม,"
Applied Environmental Research: Vol. 25:
No.
2, Article 3.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/aer/vol25/iss2/3