Applied Environmental Research
Publication Date
2023-07-01
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบร่วม BPAC-SBR (Combined Biological Powder Activated Carbon-Sequencing Batch Reactor) สำหรับการลดสีและสารอินทรีย์ในน้ำชะมูลฝอยด้วยน้ำเสียที่ใช้เป็นน้ำเสียจากกองฝังกลบขยะมูลฝอยที่กำแพงแสนโดยควบคุมความเข้มข้นซีโอดีเข้าระบบเท่ากับ 1,000 มก./ล. หรือคิดเป็นค่าอัตราภาระบรรทุกซีโอดี 0.571 กก./ลบ.ม.-วัน ความเข้มสีเท่ากับ 170.7 Su ทั้งนี้ศึกษาถึงผลของชนิดและปริมาณผงถ่านกัมมันต์ที่ความเข้มข้นต่างๆ และ อายุสลัดจ์ของระบบที่ 20 และ 30 วัน จากผลการศึกษาพบว่าระบบที่เติมผงถ่านกัมมันต์ชนิด PL-75 ด้วยความเข้มข้น 20 ก./ล. และอายุสลัดจ์ของระบบที่ 20 วัน สามารถกำจัดซีโอดี และสีได้ สูงถึง75.6และ 75.4% ตามลำดับสำหรับกลไกการบำบัดน้ำเสียของระบบส่วนใหญ่เกิดจากการดูดติดผิวร่วมกับปฏิกิริยาชีวเคมี ภายในถังปฏิกรณ์
First Page
15
Last Page
24
Recommended Citation
รัตนธรรมสกุล, ชวลิต and วงษ์จาด, จตุพร
(2023)
"การพัฒนาระบบร่วม BPAC-SBR สำหรับการลดสีและสารอินทรีย์ ในน้ำชะมูลฝอย,"
Applied Environmental Research: Vol. 25:
No.
2, Article 2.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/aer/vol25/iss2/2