•  
  •  
 

Applied Environmental Research

Publication Date

2023-07-01

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในของเสีย คือ การนำกากขี้แป้งจากโรงงานน้ำยางข้น มาเป็น วัตถุดิบในการผลิตเป็นถ่านกัมมันต์ โดยได้ศึกษาประสิทธิภาพของการกำจัดตะกั่วและปรอทในน้ำเสียสังเคราะห์ เปรียบเทียบระหว่างถ่านกัมมันต์ที่จำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไปกับถ่านกัมมันต์ที่ผลิตจากกากขี้แป้งที่ใช้เกลือแกงเป็นสารกระตุ้น และทำการล้างสารกระตุ้นด้วยกรดไฮโดรคลอริค 5% เมื่อนำไปศึกษาลักษณะทางกายภาพ พบว่าถ่านขี้แป้งมีค่าไอโอดีนนัมเบอร์ 510 มิลลิกรัมไอโอดีนต่อกรัม ถ่านกัมมันต์ และมีพื้นที่ผิว 566.39 ตารางเมตรต่อกรัม จากนั้นได้ทำการทดลองแบบแบตซ์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดูดติดผิวตะกั่วและปรอท ได้แก่ พีเอช ความเข้มข้นของโลหะหนัก และปริมาณถ่าน โดยใช้การทดสอบไอโซเทอมการดูดติดผิวแบบฟรุนดลิช พบว่า ที่พีเอช 4 และความเข้มข้น 10 มิลลิกรัม/ลิตร มีเปอร์เซ็นต์การกำจัดตะกั่วและปรอทดีที่สุด จากการทดสอบไอโซเทอม การดูดติดผิวแบบฟรุนดลิชโดยใช้น้ำเสียสังเคราะห์แสดงให้เห็นว่าถ่านกัมมันต์ที่ผลิตจากกากขี้แป้งมีความสามารถในการดูดติดผิวตะกั่วและปรอทได้ 116.18 และ 18.78 มิลลิกรัมต่อกรัมถ่านกัมมันต์ตามลำดับ และถ่านกัมมันต์ที่จำหน่าย ทั่วไป มีความสามารถในการดูดติดผิวตะกั่วและปรอทได้11.07 และ 98.85 มิลลิกรัมต่อกรัมถ่านกัมมันต์ ตามลำดับ การทดสอบแบบต่อเนื่องในคอลัมน์ได้ใช้ถ่านขี้แป้งที่มีดินเหนียวเป็นวัสดุเชื่อมประสาน และทำการป้อนนำเสียอย่างต่อเนื่องแบบไหลลง ด้วยอัตราการไหล 3 แกลลอน/(นาที-ลูกบาศก์ฟุต) พบว่าถ่านกัมมันต์ที่ชั้นความสูง 30, 60, 90 และ 120 เซนติเมตร สามารถบำบัดตะกั่วในน้ำเสียได้ 5865.58, 3910.39, 3909.50 และ 3054.47 BV ตามลำดับ และสามารถบำบัดปรอทได้ 28.87, 16.04, 11.76 และ 9.62 BV ตามลำดับ จากผลการทดลองแบบฟรุนดลิชและแบบต่อเนื่องแสดงให้เห็นว่ากัมมันต์ที่ผลิตจากกากขี้แป้งมีความเหมาะสมในการกำจัดตะกั่วมากกว่าปรอท

First Page

1

Last Page

14

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.