•  
  •  
 

Applied Environmental Research

Publication Date

2023-01-01

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการกำจัดตะกั่วและปรอทจากน้ำทิ้งอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยการเปรียบเทียบถ่านก้มมันต์ที่ผลิตจากกะลามะพร้าวและกะลาปาล์มที่ใช้โซเดียมคลอไรด์เป็นตัวกระตุ้นกับ ถ่านกัมมันต์ที่จำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป (Calgon Filtrasorb 300) ซึ่งได้ทำการทดสอบค่าไอโอดีนนัมเบอร์ ศึกษา ลักษณะทางกายภาพ การทดสอบไอโซเทอมการดูดติดผิวแบบฟรุนดลิช ผลการทดลองพบว่าถ่านกัมมันต์ที่ผลิตจากกะลามะพร้าว มีค่าไอโอดีน 532.29 มิลลิกรัมต่อกรัม พื้นที่ผิว 492.42 ตารางเมตรต่อกรัม การทดสอบไอโซเทอมการดูดติดผิวแบบฟลุนดลิชโดยใช้น้ำเสียสังเคราะห์พบว่า สามารถดูดซับตะกั่ว และปรอท ได้ 8.37 และ 5.52 มิลลิกรัมต่อกรัม ส่วนการทดสอบการดูดซับโดยใช้กังดูดซับแบบแท่งดูดซับน้ำทิ้งจากโรงงานสิ่งทอ สามารถดูดซับตะกั่วได้ 2.45, 2.57, 2.69 และ 2.81 มิลลิกรัม/กรัม และดูดซับปรอทได้ 2.21, 2.45, 2.45 และ 2.70 มิลลิกรัม/กรัม ที่ระดับความสูง 30, 60, 90 และ 120 เซนติเมตร ที่ความเข้มข้นของตะกั่วและปรอทเริ่มต้น 9.82 และ 9.83 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับ ส่วนถ่านกัมมันต์ที่ผลิตจากกะลาปาล์ม มีค่าไอโอดีน เท่ากับ 486.45 มิลลิกรัม ต่อกรัม มีพื้นที่ผิว 385.91 ตารางเมตรต่อกรัม การทดสอบไอโซเทอมการดูดติดผิวแบบฟลุนดลิชโดยใช้น้ำเสียสังเคราะห์ พบว่า สามารถดูดซับตะกั่วและปรอทได้ 2.53 และ 1.63 มิลลิกรัมต่อกรัม ซึ่งแสดงว่าถ่านกัมมันต์ที่เตรียมจากกะลามะพร้าวมีคุณสมบัติดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับถ่านกัมมันต์ที่เตรียมจากกะลาปาล์ม เมื่อเปรียบเทียบกับถ่านกัมมันต์ ที่จำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป จึงมีค่าไอโอดีน 900 มิลลิกรัมต่อกรัม พื้นที่ผิว 1,000 ตารางเมตรต่อกรัม สามารถ ดูดซับตะกั่วและปรอทได้ 50.18 และ 19.95 มิลลิกรัมต่อกรัม การทดสอบการดูดซับโดยใช้ถังดูดซับแบบแท่งดูดซับน้ำทิ้งจากโรงงานสิ่งทอ สามารถดูดซับตะกั่วได้ 3.83, 3.83, 3.75 และ 3.88 มิลลิกรัม/กรัม และดูดซับปรอทได้ 3.61, 3.83, 3.61 และ 3.72 มิลลิกรัม/กรัม ที่ระดับความสูง 30, 60, 90 และ 120 เซนติเมตร ทีความเข้มข้นของตะกั่วและ ปรอทเริ่มต้น 9.85 และ 9.87 มิลลิกรัม/ลิตร ตามลำดับ

First Page

47

Last Page

67

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.