Applied Environmental Research
Publication Date
2023-01-01
Abstract
ระบบที่ใช้ศึกษาในงานวิจัยเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาซึ่งเรียกว่า Anoxic-Anaerobic-Aerobic Membrane Bioreactor ( A3MBR)โดยใช้ถังปฏิกิริยาขนาด 90 ลิตร แบ่งเป็น 3 ส่วนโดยแบ่งเป็น ส่วนแอนนอกซิก (Anoxic) ส่วนไร้ออกซิเจน (Anaerobic) และส่วนเติมออกซิเจน (Aerobic) โดยที่ส่วนเดิมออกซิเจนมีการติดตั้งชุดไมโครฟิลเตรชัน เมมเบรน ขนาดรูพรุน 0.4 ไมโครเมตร พื้นที่ผิว 0.3 ตารางเมตร ระบบมีการหมุนเวียนสลัดจ์จากส่วนเดิมออกซิเจน ไปยังส่วนแอนนอกซิก ด้วยอัตราคงที่ 5.0 ลิตรต่อชั่วโมง งานวิจัยแบ่งเป็น 2 ชุดการทดลองย่อย เปรียบเทียบอายุสลัดจ์ 2 ค่า (40 วัน และ 80 วัน ) น้ำเสียที่ใช้เป็นน้ำเสียสังเคราะห์ อัตราการป้อนน้ำเสียเฉลี่ย 96 ลิตรต่อวัน มีค่าซีโอดี ของนำเสียที่ป้อนเข้าระบบเฉลยเท่ากับ 320 มก./ล. ค่าฟอสฟอรัสพังหมดของน้ำเสียที่ป้อนเข้าระบบเฉลี่ยเท่าถัน 7.8 มก./ล. และค่าไนโตรเจน (ในรูปของทีเคเอ็น) ของน้ำเสียที่ป้อนเข้าระบบเฉลี่ยเท่ากับ 36 มก./ล. ผลการทดลอง ที่สภาวะคงตัว ( Steady state ) ของการทดลองพบว่า ระบบมีประสิทธิภาพในการกำจัดดังนี้ ประสิทธิภาพในการ กำจัดซีโอดีสูงกว่า 98% ประสิทธิภาพในการกำจัดทีเคเอ็นสูงกว่า 96% อัตราการเกิดปฏิกิริยาไนติฟิเคชันจำเพาะสำหรับ ค่าอายุสลัดจ์ 40 วัน และ 80 วัน เท่ากับ 1.49 และ 1.39 มก.ทีเคเอ็น/ก.MLVSS-ชม. ตามสำคับ อัตราการเกิดปฏิกิริยา ดีไนตริฟิเคชันจำเพาะสำหรับค่าอายุสลัดจ์ 40 วัน และ 80 วัน เท่ากับ 0.68 และ 0.40 มก.NOx/ก.MLVSS-ชม. ตามลำดับ และประสิทธิภาพในการกำจัดฟอสฟอรัสมากกว่า 80% อัตราการคายฟอสฟอรัสจำเพาะสำหรับค่าอายุสลัดจ์ 40 วัน และ 80 วัน เท่ากับ 17.05 และ 7.35 มก.ฟอสฟอรัส/ก.MLVSS-ชม. ตามสำคับ และอัตราการจับใช้ฟอสฟอรัส จำเพาะสำหรับค่าอายุสลัดจ์ 40 วัน และ 80 วัน เท่ากับ 3.38 และ 4.10 มก.ฟอสฟอรัส/ก.MLVSS-ชม. ตามลำดับ มีปริมาณฟอสฟอรัสในเซลล์ (Phosphorus Content) สำหรับค่าอายุสลัดจ์ 40 วัน และ 80 วัน เท่ากับ 0.084 และ 0.107 มก.ฟอสฟอรัส/มก.MLVSS ตามลำดับ
First Page
46
Last Page
56
Recommended Citation
รัตนธรรมสกุล, ผชวลิต and กลิ่นเกษร, ณัฐพันธ์
(2023)
"การพัฒนาระบบเอสามเอ็มบีอาร์สำหรับกำจัดธาตุอาหารทางชีวภาพ,"
Applied Environmental Research: Vol. 25:
No.
1, Article 4.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/aer/vol25/iss1/4