Applied Environmental Research
Publication Date
2023-01-01
Abstract
เถ้าลอยลิกไนต์จากโรงงานไฟฟ้าพลังงานความร้อนแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) เท่ากับ 10.25 ซึ่งจัดว่าเป็นวัสดุที่มีความเป็นด่างจัดมาก และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.49-878 μm พบว่า มีอำนาจในการทำให้เป็น กลางต่ำมาก จึงไม่สามารถเป็นปูนทางการเกษตร (Agricultural lime) ที่แก้ปัญหาดินเปรี้ยวได้ และเมื่อศึกษาไนดินเหนียวและดินร่วน ทั้งในภาคสนาม และในห้องปฎิบัติการ ด้วยแผนการทดลอง แบบ Complete Randomized Design (CRD) ทำ 3 ซ้ำ พบว่า ความสามารถของเถ้าลอยลิกไนต์ในการยกระดับ pH ของดิน เพิ่มขึ้นตามอัตราเติมที่เพิ่มขึ้น แต่ที่อัตราเดิม 4 ตัน/ไร่ ในภาคสนามนั้น การเพิ่มขึ้นของ pH ดินเดิม (ดินเหนียวและดิน ร่วน) เมื่อเติมเถ้าลอยลิกไนต์มีน้อยกว่าการเติมปูนมาร์ลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้การเดิมเถ้าลอยลิกไนต์ ไม่มีผลทำ ให้ pH ของดินเดิมลดลงเหมือนปุ๋ยเคมี ในขณะเดียวกันกลับมีผลทำให้ pH ของดินเดิมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเช่นเดียว กับปุ๋ยหมัก ที่อัตราเดิม 2 ตัน/ไร่ ดังนั้นศักยภาพของเถ้าลอยลิกไนต์ในการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว จึงมีขอบเขตเพียงยกระดับ pH ของดิน ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มปริมาณธาตุอาหารให้กับดินและพืช โดยมีการจัดการดิน น้ำ พืช อย่างเหมาะสมร่วมด้วย
First Page
39
Last Page
45
Recommended Citation
ศิริรัตน์พิริยะ, อรวรรณ; ตันนูกิจ, ธวิโรจน์; and ชัยวุฒิกุล, กนกพร
(2023)
"ศักยภาพของเถ้าลอยลิกไนต์ในการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว,"
Applied Environmental Research: Vol. 25:
No.
1, Article 3.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/aer/vol25/iss1/3