Applied Environmental Research
Publication Date
2002-07-01
Abstract
ค่าบีโอดีเป็นพารามิเตอร์ที่ใช้ในการบ่งบอกลักษณะและประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเสียในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ดีในการวิเคราะห์น้ำเสียที่มีสารอินทรีย์ ต่ำมักขาดความถูกต้องและแม่นยำ งานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลของปัจจัยควบคุมที่มีต่อค่าบีดีโอซีซึ่งเป็นพารามิเตอร์ใหม่ ในน้ำเสียจากระบบตะกอนเร่ง และวิเคราะห์พารามิเตอร์ อื่นๆ ได้แก่ค่าบีโอดี ค่าซีโอดี ค่าดีโอซี และมวลชีวภาพ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพและความแม่นยำในการวัดค่า บีดีโอซีอีกด้วย จากผลการศึกษาในแบบจำลองพบว่า ค่าบีดีโอซีที่ได้จากระบบบำบัดที่มีเวลากักตะกอนต่ำมีค่าสูงกว่าที่พบในน้ำที่บำบัดที่มีเวลากักตะกอนสูง นอกจากนี้ยังพบว่า ประสิทธิภาพในการบำบัดโดยวิเคราะห์จากค่าบีดีโอซีมีความสัมพันธ์กับเวลากักตะกอนอย่างเห็นได้ชัดซึ่งอาจสามารถใช้ความสัมพันธ์ดังกล่าวมาทำนายและใช้ในการ ออกแบบระบบตะกอนเร่งได้ในอนาคตและเป็นที่น่าสังเกตว่าค่าบีดีโอซีมีความสัมพันธ์กับค่าบีโอดี และดีโอซี อย่างไรก็ตาม ควรเพิ่มจำนวนของข้อมูลในการวิเคราะห์เพื่อให้ได้ผลชัดเจนยิ่งขึ้น จากผลการศึกษาของ ทุกระบบพบว่าค่าบีดีโอซีมีความแม่นยำในการวิเคราะห์เหนือกว่าค่าบีโอดีอย่าง มีนัยสำคัญ
First Page
13
Last Page
21
Recommended Citation
Khaodhiar, Sutha; Khan, Eakalak; and Wanaratna, Pischa
(2002)
"ผลของเวลากักตะกอนที่มีต่อสารละลายอินทรีย์คาร์บอนที่ย่อยสลาย ได้ทางชีวภาพในน้ำเสียที่ผ่านการบําบัดจากระบบบำบัดน้ำเสียแบบตะกอนเร่ง (Effect of Solid Retention Time of Activated Sludge on Biodegradable Dissolved Organic Carbon in Effluents),"
Applied Environmental Research: Vol. 24:
No.
2, Article 2.
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/aer/vol24/iss2/2