•  
  •  
 

Journal of Transportation and Logistics (TRANSLOG)

Publication Date

2008-01-01

Abstract

ท่าเรือจัดว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งที่มีบทบาทที่สำคัญสำหรับธุรกิจการนำเข้า-ส่งออก และการค้าระหว่างประเทศ และเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศ มีความมั่นคง และเจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ ขณะที่ความสำคัญในการพัฒนาท่าเรือ ของไทยให้เป็นท่าเรือศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาค เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการ แข่งขันของธุรกิจอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงการดำเนินการตาม นโยบายของรัฐบาล เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการส่งออกเป็นภารกิจที่สำคัญของผู้ที่ เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะท่าเรือจำเป็นต้องมีการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการให้บริการแก่ผู้ใช้ บริการในทุกๆ ด้านอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการสำรวจคุณภาพในการให้บริการจึงเป็นสิ่ง สำคัญยิ่งในอันที่จะนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพในการให้บริการ การศึกษาคุณภาพในการให้บริการครั้งนี้เริ่มสำรวจในปี 2548 ได้มีการทบทวน วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการพฤติกรรมผู้บริโภคและทฤษฏีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยได้มีการประยุกต์ใช้ทฤษฏี GAP Analysis และโมเดล Performance-Importance Analysis เข้ามาใช้ในการวิเคราะห์และประเมินความพึงพอใจ ของผู้ใช้บริการของผู้ประกอบการท่าเทียบเรือแหลมฉบัง โดยสำรวจผู้ใช้บริการด้านเรือ (บริษัทสายการเดินเรือและบริษัทตัวแทนเรือ) จำนวน 84 บริษัท และผู้ใช้บริการด้านสินค้า (บริษัทผู้นำเข้า-ส่งออก และบริษัทผู้รับจัดการขนส่งสินค้า) จำนวน 180 บริษัท มีอัตราการตอบ กลับคิดเป็น 84.0 เปอร์เซ็นต์ ผลการสำรวจได้ถูกนำมาประมวลผลและการวิเคราะห์ โดยใช้ โปรแกรม SPSS ควบคู่กับการใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการสำรวจพบว่าผู้ใช้บริการด้านเรือมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของ ท่าเรือกรณีศึกษาเท่ากับ 3.58 ขณะที่ผู้ใช้บริการด้านสินค้ารู้สึกพึงพอใจบริการที่ได้รับจากท่าเรือกรณีศึกษาเท่ากับ 3.29 และเมื่อนำเอาระดับความพึงพอใจที่ได้รับมาทำการหาค่าเฉลี่ยโดยใช้การถ่วงน้ำหนักของจำนวนแบบสอบถามที่ตอบกลับในแต่ละกลุ่มตัวอย่างพบว่าผู้ใช้บริการทั้งด้านเรือและผู้ใช้บริการด้านสินค้ามีระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการโดยรวมของผู้ประกอบการท่าเทียบเรือแหลมฉบังเท่ากับ 3.36 การศึกษาครั้งนี้ยังได้ทำการสำรวจและวิเคราะห์ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการที่มีต่อกิจกรรมการให้บริการด้านต่างๆ รวมทั้งยังได้จัดข้อเสนอแนะเพื่อช่วยให้ผู้บริหาร และผู้เกี่ยว ข้องสามารถนำผลการศึกษาดังกล่าวไปพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการบริการ เพื่อยกระดับคุณภาพการให้บริการของผู้ประกอบการท่าเทียบเรือแหลมฉบัง ให้กลายเป็นท่าเรือระดับโลกในอนาคต

DOI

10.58837/CHULA.TRANSLOG.2008.1.5

First Page

67

Last Page

95

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.