•  
  •  
 

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Publication Date

1996-01-01

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระบบการประเมินผล การปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับส่วนนำเข้าของระบบ กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงาน และผลลัพธ์ของระบบกลุ่มตัวอย่างคือ แบบฟอร์มการ - ประเมินผลการปฏิบัติงานของพยาบาลประจําการทุกชุดที่ใช้อยู่ในโรงพยาบาล เขตกรุงเทพมหานคร และหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร 8 แห่ง จํานวน 201 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบวิเคราะห์ แบบฟอร์มการประเมินผล และแบบสอบถามการประเมินผลการปฏิบัติงานของพยาบาลประจําการ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น และตรวจสอบหาความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 10 ท่าน และได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถาม 1 เท่ากับ 87 วิเคราะห์ด้วยค่าร้อยละ และการทดสอบไคว์-สแคว์ \nผลการวิจัยพบว่า \n1. โรงพยาบาลของรัฐเขตกรุงเทพมหานครทุกสังกัดมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน อย่างเป็นระบบ ผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการส่วนใหญ่คือ หัวหน้าผู้ป่วย (97.5) แบบฟอร์มการประเมินผลที่ใช้ส่วนใหญ่คือ แบบคุณลักษณะและประสิทธิผล (50%) รองลงมา คือแบบพฤติกรรม (38.5%) วิธีการประเมินผลที่ปรากฏในแบบฟอร์มการประเมินคือ การพิจารณา 2. ตามเครื่องมือวัด (75%) ที่เหลือเป็นการให้คะแนนดิบ แบบฟอร์มการประเมินผลมีส่วนประกอบ \nของแบบฟอร์มไม่ครบทั้ง 5 ส่วน โดยมีส่วนของสรุปผลการประเมินมากที่สุด (75%) \n2. กระบวนการการประเมินผลการปฏิบัติงานพบว่า มีกระบวนการการประเมินผล การปฏิบัติงานครบทั้ง 5 องค์ประกอบ มีวัตถุประสงค์ของการประเมินส่วนใหญ่ เพื่อเป็นข้อมูล ป้อนกลับให้พยาบาลประจําการ (81.1) หัวหน้าหอผู้ป่วยส่วนใหญ่มีวิธีการรวบรวมข้อมูลการ ปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการคือ สังเกตการทำงานแล้วจดบันทึก (88%) ส่วนใหญ่หัวหน้าหอผู้ป่วยจะแจ้งและอภิปรายผลการประเมินกับพยาบาลประจำการเป็นรายบุคคล (79.7%) การนำผลการประเมินไปใช้ส่วนใหญ่คือ เป็นหลักฐานในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม พยาบาลประจําการ (77.6%) รองลงมาคือ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเลื่อนตำแหน่ง (66.1) \n3. ผลการเปรียบเทียบกระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงาน ในด้านการรวบรวมข้อมูล การปฏิบัติงาน และด้านการแจ้งและอภิปรายผลการประเมินในโรงพยาบาลของรัฐ เขตกรุงเทพ มหานคร จำแนกตามสังกัดพบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

DOI

10.58837/CHULA.CUNS.8.1-3.10

First Page

103

Last Page

109

Included in

Nursing Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.