•  
  •  
 

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Publication Date

2019-05-01

Abstract

Purpose: The study aimed to examine the level of sexual risk behaviors and relationships between predisposing factors, reinforcing factors, enabling factors and sexual risk behaviors of adolescents with visual impairment.Design: Descriptive correlational research.Methods: The subjects were 99 adolescents with visual impairment who studied in 3 schools for the students with visual impairment. Purposive sampling was used. Data were collected using seven Braille's questionnaires, including 1) demographic characteristics, 2) sexual knowledge, 3) sexual attitude, 4) self-esteem, 5) influence from friends, 6) sexual media accessibility and 7) sexual risk behaviors of adolescent with visual impairment. All questionnaires had content validity. Their Cronbach's alpha coefficients of the 2nd- 7th questionnaires were .74, .75, .71, .75, .78 and .75, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics, Pearson's Product Moment Correlation, Spearman's Rank Correlation and Point Biserial Correlation.Findings: The mean of sexual risk behaviors was low level X - = 28.19, SD. = 5.43). Gender was related to sexual risk behaviors (rpb = .277, p < .01). GPA and self-esteem were negatively related while influence from friends and sexual media accessibility were positively related to sexual risk behaviors (r = -.211, p < .05, r = -.268, p < .01, r = .411, p < .01, r = .257, p < .05, respectively).Conclusions: Nurses should promote appropriate sexual behaviors of adolescents with visual impairment by increasing self-esteem, refusal skills and appropriate internet accessibility skills.(วัตถุประสงค์: ศึกษาระดับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเสริม และปัจจัยเอื้อ กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นที่มีความพิการทางการเห็นแบบแผนงานวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยายความสัมพันธ์วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นที่มีความพิการทางการเห็น อายุ 13-19 ปี ที่กำลังศึกษาในโรงเรียนสอนนักเรียนพิการทางการเห็น จำนวน 99 คน คัดเลือกแบบเจาะจง รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่เป็นอักษรเบรลล์ ประกอบด้วย 7 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) ความรู้เรื่องเพศศึกษา 3) ทัศนคติเรื่องเพศ 4) การเห็นคุณค่าในตนเอง 5) อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน 6) การเข้าถึงสื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ และ 7) พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นที่มีความพิการทางการเห็น ซึ่งมีความตรงตามเนื้อหา และแบบสอบถามที่ 2-7 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ .74, .75, .71, .75, .78, และ .75 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน และสหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียลผลการวิจัย: ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับต่ำ (X - = 28.19, SD. = 5.43) เพศมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ (rpb = .277, p < .01) ผลการเรียน และการเห็นคุณค่าในตนเอง มีความสัมพันธ์ทางลบ อิทธิพลของกลุ่มเพื่อน และการเข้าถึงสื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ มีความสัมพันธ์ทางบวก กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ (r = -.211, p < .05, r = -.268, p < .01, r = .411, p < .01, r = .257, p < .05 ตามลำดับ)ข้อสรุป: พยาบาลควรส่งเสริมพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสมแก่วัยรุ่นที่มีความพิการทางการเห็น โดยเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเอง ทักษะการปฏิเสธ และการใช้สื่ออย่างเหมาะสม)

DOI

10.58837/CHULA.CUNS.31.2.5

First Page

48

Last Page

59

Included in

Nursing Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.