•  
  •  
 

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Publication Date

2019-01-01

Abstract

Purpose:Explore the confidence of determining signs/symptoms of phlebitis by nurse practitioners.Design:Cross-Sectional Questionnaire SurveyMethods:Fifteen signs/symptoms of phlebitis identified from a systematic review were included in the questionnaire survey among the nurses from Infusion Nurse Network of Thailand. Respondents were asked for their confidence in determining each of the 15 signs/symptoms, using a 5-point Likert scale.Findings: From 344 participants (77.83%) responded to the survey, the mean age was 34.73 years, 98.8% were female, 77.62% had no experience with phlebitis management. Overall, the nurses were most confident in determining fever/ pyrexia (X - = 4.23, SD = 1.01), followed by erythema/ redness (X - = 4.21, SD = 0.97), edema/ swelling (X - = 4.19, SD = 0.96), pain (X - = 4.17, SD = 0.96), purulence/ exudate (X - = 3.98, SD = 1.05) and tenderness (X - = 3.92, SD = 1.04). Nurses with experience in diagnosing phlebitis have significantly higher confident level than inexperienced nurses in 10 signs/symptoms (p<0.05). Exploratory Factor Analysis (EFA) revealed that the signs/ symptoms can be categorized into 3 groups according to early, intermediate and late stages of the disease.Conclusion:Majority of the nurse practitioners have various levels of confidence in determining the signs/ symptoms of suspected phlebitis. This might lead to incorrect incidence report and inappropriate management. This study showed the signs and symptoms that nurse practitioners used in diagnosing phlebitis which can help creating phlebitis assessment tools and guidelines for phlebitis-diagnosis training in the future.(วัตถุประสงค์:ศึกษาความมั่นใจในการประเมินอาการ อาการแสดงของการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบของพยาบาลรูปแบบการวิจัย: การสำรวจภาคตัดขวางด้วยแบบสอบถามวิธีดำเนินการวิจัย:การวิจัยในครั้งนี้ใช้วิธีการสำรวจภาคตัดขวางด้วยแบบสอบถามในพยาบาลวิชาชีพของเครือข่ายพยาบาลผู้ให้สารนำแห่งประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามความมั่นใจในการประเมินการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ จำนวน 15 ข้อ เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยผู้วิจัยพัฒนาแบบสอบถามจากรายงานวิจัยการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบผลการวิจัย:มีผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 344 คน (ร้อยละ 77.83) เป็นเพศหญิงร้อยละ 98.8 อายุเฉลี่ย 34.73 (SD 9.18) ปี โดยร้อยละ 77.62 ไม่มีประสบการณ์ในการประเมินและการจัดการการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ ผลการประเมินความมั่นใจในการประเมินอาการ อาการแสดงของการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบของพยาบาล 6 อันดับแรก เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยคะแนนความมั่นใจ ได้แก่ ไข้ (X - = 4.23, SD = 1.01) ผื่นแดง/ บริเวณคาสายสวนมีสีแดง (X - = 4.21, SD = 0.97) อาการบวม (X - = 4.19, SD = 0.96) อาการปวด (X - = 4.17, SD = 0.96) เป็นหนอง/ มีสารคัดหลั่ง (X - = 3.98, SD = 1.05) อาการกดเจ็บ (X - = 3.92, SD = 1.04) ตามลำดับ โดยพยาบาลที่มีประสบการณ์ในการประเมินอาการและอาการแสดงของการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจะมีระดับความมั่นใจมากกว่าพยาบาลที่ไม่มีประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญจำนวน 10 อาการ (p<0.05) ผลการวิเคราะห์ด้วย Exploratory Factor Analysis (EFA) พบว่าสามารถแบ่งอาการและอาการแสดงออกได้เป็น 3 กลุ่ม ซึ่งสัมพันธ์กับระยะแรก (Early) ระยะกลาง (Intermediate) และระยะหลัง (Late) ของการดำเนินโรค สรุป:พยาบาลวิชาชีพส่วนใหญ่มีความมั่นใจในการประเมินอาการและอาการแสดงของการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบในระดับที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจส่งผลต่อการรายงานอุบัติการณ์และการดูแลทางการพยาบาล การศึกษานี้ทำให้ทราบถึงการประเมินอาการและอาการแสดงของการเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบที่พยาบาลวิชาชีพใช้ในการวินิจฉัยโรค ซึ่งจะเป็นข้อมูลในการสร้างเครื่องมือประเมิน และแนวทางในการจัดอบรมการวินิจฉัยหลอดเลือดดำอักเสบแก่พยาบาลต่อไป)

DOI

10.58837/CHULA.CUNS.31.1.9

First Page

98

Last Page

108

Included in

Nursing Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.