•  
  •  
 

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Publication Date

2019-01-01

Abstract

Purpose:The study aimed to study exclusive breastfeeding rate and investigate factors predicting exclusive breastfeeding during 4-6 week postpartum among mothers with pre-pregnancy overweight and obesity.Design: Descriptive predictive research.Methods:Participants consisted of 200 during 4-6 week postpartum among mothers with pre-pregnancy overweight and obesity who were followed up at obstetrical-gynecological out-patient departments at 3 Saiyairak (family-friendly) hospitals in Chonburi province including Chonburi hospital, Queen Savang Vadhana Memorial hospital and Banglamung hospital. Convenience sampling was used to recruit sample. Research instruments consisted of demographic and breastfeeding information, perceived benefit of breastfeeding questionnaire, perceived barrier of breastfeeding questionnaire, perceived self-efficacy of breastfeeding questionnaire and perceived support for breastfeeding questionnaire. Data were analyzed by descriptive statistics and binary logistic regression.Results:Rate of exclusive breastfeeding during 4-6 week postpartum among mothers with pre-pregnancy overweight and obesity was 45%. Perceived benefit of breastfeeding, perceived barrier to breastfeeding, perceived self-efficacy of breastfeeding, and perceived support for breastfeeding accounted for 28.3% of the variance in 4-6 week exclusive breastfeeding (Nagelkerke R2 = .283, p < .05).Conclusion:Nurses should bring factors affecting exclusive breastfeeding during 4-6 week postpartumtopromote exclusive breastfeeding among mothers with pre-pregnancy overweight and obesity.(วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว และปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 4-6 สัปดาห์หลังคลอด ในมารดาที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนก่อนตั้งครรภ์แบบแผนการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนาย (Descriptive predictive research)วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาหลังคลอด 4-6 สัปดาห์ ที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนก่อนตั้งครรภ์ จำนวน 200 ราย ที่มารับบริการตรวจสุขภาพภายหลังคลอดบุตร ที่แผนกผู้ป่วยนอกสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัว จังหวัดชลบุรี จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลชลบุรี โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา และโรงพยาบาลบางละมุง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามความสะดวก เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามข้อมูลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และแบบสอบถามการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกทวิผลการวิจัย: มารดาภายหลังคลอดที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนก่อนตั้งครรภ์มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 4-6 สัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 45 ปัจจัยด้านการรับรู้ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การรับรู้อุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ร่วมกันทำนายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 4-6 สัปดาห์ ได้ร้อยละ 28.3 (Nagelkerke R2 = .283, p < .05) สรุป: พยาบาลควรนำปัจจัยที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 4-6 สัปดาห์ภายหลังคลอด มาใช้ ในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในมารดาที่มีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนก่อนตั้งครรภ์)

DOI

10.58837/CHULA.CUNS.31.1.7

First Page

72

Last Page

84

Included in

Nursing Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.