•  
  •  
 

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Publication Date

2019-01-01

Abstract

Objective: To describe the living of patients with cancer relapse who were received palliative care.Research Design: Qualitative research using Edmund Husserl phenomenology approach.Research Methodology: The key informants selected with purposive sampling were adolescents patients (boys and girls), diagnosed by doctors which they had leukemia lymphoma and central nervous system tumors. They were treated with chemotherapy for at least 1 year, perceived and received palliative care for at least 6 months. Data were collected by in-depth interviews based on means of Colaizzi until the information was saturated. A total of the key informants were 9 patients.Results: "Continuing life" is one of the main points from this study by dividing into three important areas: 1) Life different from others: It is a life changing because of sickness, so they do not have to stay in the same age. 2) Life with happiness: It is to be happy continue to live with cancer illnesses and 3) Life with encouragement and support for self and family: By seeking a person to hold on to the encouragement of living.Conclusion: This result showed that health professionals have understood aspects of the palliative care of relapse patients during recurrent-cancer treatment. The data can be used as a guideline for assessing the problem and needs for palliative care nursing interventions for those patients precisely and appropriately(วัตถุประสงค์:เพื่อบรรยายการมีชีวิตอยู่ของผู้ป่วยวัยรุ่นโรคมะเร็งกลับเป็นซ้ำที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองรูปแบบการวิจัย:การวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดปรากฏการณ์วิทยาของ Husserlวิธีดำเนินการวิจัย: ผู้ให้ข้อมูลหลักคัดเลือกอย่างเฉพาะเจาะจง คือ ผู้ป่วยวัยรุ่นโรคมะเร็ง อายุ 11-19 ปี ทั้งหญิงและชาย ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งในระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งทราบการวินิจฉัยโรคของตน ได้รับการรักษาโรคมะเร็งด้วยเคมีบำบัดอย่างน้อย 1 ปี รับรู้การวินิจฉัยโรคของตนและได้รับการดูแลแบบประคับประคองมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการของ Colaizzi จนข้อมูลเกิดการอิ่มตัว รวมผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งหมดจำนวน 9 รายผลการวิจัย: "ชีวิตที่อยู่ต่อไป" คือ ประเด็นหลักประเด็นหนึ่ง ที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ประเด็นย่อย คือ 1) ชีวิตที่แตกต่างจากคนอื่น เป็นชีวิตเปลี่ยนแปลงไปเพราะการเจ็บป่วย ทำให้ต้องพักรักษาตัว ไม่เหมือนเพื่อนวัยเดียวกัน 2) ชีวิตที่ต้องอยู่ดีมีความสุข คือต้องทำตัวให้มีความสุข ใช้ชีวิตอยู่ต่อไปกับการเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็ง และ 3) ชีวิตที่อยู่บนขวัญกำลังใจเพื่อตัวเองและครอบครัว โดยการแสวงหาบุคคลเป็นที่ยึดเหนี่ยวให้มีกำลังใจในการใช้ชีวิตอยู่ต่อไปสรุป:ผลการศึกษาครั้งนี้ ทำให้เกิดความเข้าใจผู้ป่วยวัยรุ่นโรคมะเร็งที่กลับเป็นซ้ำ และได้รับการดูแลแบบประคับประคอง สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้เป็นแนวทางในการประเมินปัญหาและความต้องการเพื่อให้การพยาบาลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้อย่างถูกต้องเหมาะสม)

DOI

10.58837/CHULA.CUNS.31.1.4

First Page

37

Last Page

48

Included in

Nursing Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.