•  
  •  
 

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Publication Date

2018-01-01

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับอาการกลืนลำบากในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง\n\nแบบแผนการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยใน จำนวน 88 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยคือแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบสภาพสมองฉบับภาษาไทย และแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ความตระหนักรู้ในอาการกลืนลำบาก ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง ความพร้อมก่อนการกลืน และการกลืน ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา และมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .84, .94, .92, .73 .91 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยซ์ไบซีเรียล\n\nผลการวิจัย: 1) ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองมีอาการกลืนลำบากร้อยละ 59.1 2) อายุและความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับอาการกลืนลำบากในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .257; .820 ตามลำดับ) 3) ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและความตระหนักรู้ในอาการกลืนลำบากมีความสัมพันธ์ทางลบกับอาการกลืนลำบากในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.795; -.657 ตามลำดับ) และ 4) การรู้คิดมีความสัมพันธ์กับอาการกลืนลำบากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (rpb = .581)\n\nสรุป: พยาบาลสามารถใช้ผลการวิจัยนี้เพื่อเป็นแนวทางการจัดการทางการพยาบาลเพื่อฟื้นฟูการกลืนในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

DOI

10.58837/CHULA.CUNS.30.1.8

First Page

84

Last Page

95

Included in

Nursing Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.