•  
  •  
 

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Publication Date

2017-09-01

Abstract

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของภาวะโภชนาการ (ดัชนีมวลกาย และ เส้นรอบเอว) และอาการปวดเข่า (คะแนนความปวด) ในระยะก่อนและหลังได้รับโปรแกรมควบคุมน้ําหนักโดยใช้การสนับสนุนของกลุ่มและชุมชนของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง\n\nรูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n\nวิธีดําเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุน้ําหนักเกินที่มีอาการปวดเข่าในชมรมผู้สูงอายุ 2 แห่งในกรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมได้ถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมควบคุมน้ําหนักโดยใช้การสนับสนุนของกลุ่มและชุมชน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ในเรื่องสร้างความตระหนัก การตั้งเป้าหมายร่วมกัน และการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรม โดยใช้กิจกรรมกลุ่มในการควบคุมน้ําหนัก การออกกําลังกาย การบริหารเข่า และการรวมพลังชุมชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน ในขณะเดียวกัน กลุ่มควบคุมได้รับเอกสารแผ่นพับให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องอาหารแลกเปลี่ยน รูปแบบอาหารจานสุขภาพ และวิธีการบริหารข้อเข่าที่ผู้วิจัยจัดทําขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการประเมินภาวะโภชนาการ และอาการปวดเข่าในระยะก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย การทดสอบที ไคสแควร์ และแมนวิทนีย์-ยู\n\nผลการวิจัย : กลุ่มทดลองมีการลดลงของค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย (p < .001) เส้นรอบเอว (p < .001) และคะแนนความปวด (p < .001) มากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําาคัญทางสถิติ\n\nสรุป : ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะต่อพยาบาลและทีมสุขภาพที่ปฏิบัติงานในชุมชน โดยส่งเสริมการนําาโปรแกรมไปประยุกต์ใช้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุน้ําาหนักเกินที่มีอาการปวดเข่าในชุมชน

DOI

10.58837/CHULA.CUNS.29.3.2

First Page

8

Last Page

18

Included in

Nursing Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.