•  
  •  
 

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Publication Date

2017-01-01

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพ และเพื่อประเมินรูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพ งานผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลอุดรธานี\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเพื่อพัฒนา (Research and development)\n\nวิธีดำเนินการวิจัย: ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับรูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพ ระยะที่ 3 ประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพ ด้วยการประเมินความรู้เกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง การประเมินทักษะการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในสถานการณ์จำลอง และประเมินอัตราการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำเร็จและอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในหอผู้ป่วยที่กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติงาน ภายหลังนำรูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพ ไปใช้แล้ว 3 เดือน \n\nผลการวิจัย:\n\n1. รูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพงานผู้ป่วยหนักมีดังนี้\n 1.1 จัดอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงซ้ำทุก 3 เดือน ครั้งละ 2 วัน โดยวันแรก อบรมทฤษฎีจำนวน 4 ชั่วโมง อบรมภาคปฏิบัติ 3 ชั่วโมง โดยฝึกทักษะการอ่านและแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจในสถานการณ์จำลอง วันที่ 2 ฝึกทักษะการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในสถานการณ์จำลอง เป็นเวลา 7 ชั่วโมง\n 1.2 จัดทำ Pre- Arrest Signs และ Guideline ไปติดทุกหอผู้ป่วย และคัดเลือกครู ก. ประจำหอผู้ป่วย ทำหน้าที่เป็นผู้สอนและประเมินการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง ณ หอผู้ป่วยที่สังกัด\n2. ผลการประเมินประสิทธิภาพรูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับพยาบาลวิชาชีพ\n 2.1. พบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงภายหลังอบรมครั้งที่ 1 มากกว่าก่อนการอบรม และมากกว่าระยะหลังการอบรมครั้งที่ 2(3 เดือน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในสถานการณ์จำลอง หลังการอบรมครั้งที่ 1 สูงกว่าหลังการอบรมครั้งที่ 2 (3 เดือน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ\n 2.2 อัตราการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำเร็จและอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในหอผู้ป่วยที่กลุ่มตัวอย่างปฏิบัติงาน พบว่า จำนวนผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นจำนวน 16 ราย สามารถช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำเร็จ จำนวน 14 ราย คิดเป็นร้อยละ 88.89 อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้วยอาการ Facture ribs, Hemothorax/Pneumothorax หรือ Rupture Heart เท่ากับ 0\n\nสรุป: รูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงของพยาบาลวิชาชีพงานผู้ป่วยหนัก ควรอบรมทุก 3 เดือนอย่างต่อเนื่อง ควรฝึกทักษะการอ่านและแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในสถานการณ์จำลอง เพื่อทำให้อัตราการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำเร็จสูงขึ้นและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

DOI

10.58837/CHULA.CUNS.29.1.11

First Page

128

Last Page

140

Included in

Nursing Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.