•  
  •  
 

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Publication Date

2014-09-01

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพและปัจจัยทํานายพฤติกรรมส่งเสริม สุขภาพของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน เขตภาคกลาง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข\n\nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงทํานาย (Descriptive predictive research)\n\nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน เขตภาคกลาง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จํานวน 347 คน ทําการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัย คือ แบบสอบถามลักษณะองค์การ แบบสอบถามการจัดการสถานที่ทํางานที่เอื้อต่อสุขภาพ และ แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถามการจัดการสถานที่ทํางานที่เอื้อต่อสุขภาพ และ แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ เท่ากับ .89 และ 1.00 ตรวจสอบสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค ของแบบสอบถามทั้งสอง ได้เท่ากับ .93 และ .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบ\nขั้นตอน\n \nผลการวิจัย: 1) พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน เขตภาคกลาง สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.02, SD = 0.31)\n2) ปัจจัยทํานายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน ได้แก่ การจัดโครงการสถานที่ทํางานน่าอยู่น่าทํางาน (β = .366) ประสบการณ์ปฏิบัติงาน (β = .176)\nโรงพยาบาลขนาดเล็ก (β = .133) การนําองค์การและการบริหาร (β = .128) ได้รับการอบรมด้านส่งเสริม สุขภาพ (β = .108) ผ่านการรับรองเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ (β = .-131) และช่วงอายุ 30-39 ปี (β = .-128) โดยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ ได้ ร้อยละ 22.3 (R² = .223) ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ .05\n \nสรุป: ปัจจัยทํานายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของพยาบาลวิชาชีพ คือ การจัดโครงการสถานที่ทํางาน น่าอยู่น่าทํางาน ประสบการณ์ปฏิบัติงาน โรงพยาบาลขนาดเล็ก การนําองค์การและการบริหาร ได้รับ การอบรมด้านส่งเสริมสุขภาพ ผ่านการรับรองเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ และช่วงอายุ 30-39 ปี โดยสามารถทํานายได้ร้อยละ 22.30 ฉะนั้น จึงควรส่งเสริมปัจจัยทํานายเหล่านี้ โดยเฉพาะใน โรงพยาบาลขนาดเล็ก ที่พยาบาลมีประสบการณ์ทํางานและอยู่ในช่วงอายุ 30-39 ปี\n

DOI

10.58837/CHULA.CUNS.26.3.6

First Page

72

Last Page

83

Included in

Nursing Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.