•  
  •  
 

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Publication Date

2014-09-01

Abstract

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความสุขสบายและภาพลักษณ์ระหว่างผู้ป่วยที่ใส่เสื้อกระชับแผลและ ประคองทรงหลังผ่าตัดเต้านมออกกับผู้ป่วยที่ได้รับการปิดแผลด้วยวัสดุปิดแผลตามปกติ\n\n รูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รับไว้ในโรงพยาบาลเพื่อรับการผ่าตัดเต้านมออก จํานวน 30 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 15 ราย กลุ่มทดลองได้รับการใส่เสื้อกระชับแผล และประคองทรงหลังผ่าตัด ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการปิดแผลด้วยวัสดุปิดแผลแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ ในการทดลอง คือ เสื้อกระชับแผลและประคองทรง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบ ประเมินความสุขสบายและแบบประเมินภาพลักษณ์ ซึ่งพัฒนาขึ้นโดยผู้วิจัยและผ่านการตรวจสอบความ ตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ นํามาหาดัชนีความตรงตามเนื้อหาได้ค่า CVI เท่ากับ .86 และ .86 ตาม ลําดับ หาความเที่ยงโดยคํานวณสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาคได้ค่าเท่ากับ .62 และ .77 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที\n \nผลการวิจัย: ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ใส่เสื้อกระชับแผลและประคองทรงหลังผ่าตัดเต้านมมีคะแนนเฉลี่ย ความสุขสบายและภาพลักษณ์สูงกว่ากลุ่มที่ปิดแผลด้วยวัสดุปิดแผลตามปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ ระดับ .05\n\nสรุป: การสวมใส่เสื้อกระชับแผลและประคองทรงส่งผลให้ผู้ป่วยมีความสุขสบายมากขึ้นและมีภาพลักษณ์ ที่ดีขึ้น พยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเต้านมจึงควรนําเสื้อกระชับแผลและประคองทรงไปใช้เพื่อให้ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดเต้านมมีความสุขสบายและมีภาพลักษณ์ที่ดี\n

DOI

10.58837/CHULA.CUNS.26.3.1

First Page

1

Last Page

11

Included in

Nursing Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.