•  
  •  
 

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Publication Date

2000-01-01

Abstract

ทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์การเป็นอย่างยิ่ง เพราะทรัพยากรมนุษย์ มีส่วนในการพัฒนาองค์การให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ การดูแลทรัพยากรมนุษย์ใน องค์การจึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารองค์การต้องคำนึงถึง โดยเฉพาะขวัญกำลังใจ ความรู้สึกต่อองค์การที่ตน ทำงานอยู่ รวมทั้งบรรยากาศในการทำงานของบุคลากรในองค์การด้วย ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การบริหาร จัดการให้เหมาะสม ก่อให้เกิดการพัฒนาองค์การ \nการศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความคิดเห็นต่อ บรรยากาศองค์การของฝ่ายบริการพยาบาลโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อบรรยากาศ ด้านการทํางานเป็นทีม การให้บริการ การเปลี่ยนแปลงงาน การปรับปรุงระบบงาน เป้าหมายใน การทำงานร่วมกัน และความพึงพอใจที่มีต่อการทำงานในองค์การ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล พนักงานผู้ช่วยการพยาบาล เสมียน คนงาน และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ จำนวนทั้งสิ้น 600 ราย วิธีการเก็บข้อมูล โดยแบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม จำนวนทั้งสิ้น 55 ข้อ ผลการศึกษา พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ยประมาณ 32 ปี มีระยะ เวลาในการปฏิบัติงานประมาณ 11 ปี มีโอกาสได้รับการอบรมเฉลี่ย 1 ครั้ง ตลอดช่วงระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในฝ่ายบริการพยาบาล (2) ความคิดเห็นต่อบรรยากาศองค์การด้านความสามารถใน การเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน การทำงานเป็นทีมการใช้ความคิดสร้างสรรค์ การให้ความหมายของ คุณภาพ การตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย/ลูกค้า เป้าหมายและอุดมการณ์ร่วมกัน และ ความพึงพอใจในงานอยู่ในระดับปานกลางค่อนไปทางมาก ส่วนความสัมพันธ์ของผู้ป่วยใน และ การปรับปรุงระบบงานค่อนไปทางน้อย ดังนี้ 6.16 6.24 6.10 7.05 6.75 6.09 6.22 5.84 และ 4.80 (3) เมื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อความคิดเห็นต่อบรรยากาศในการทำงาน โดยการวิเคราะห์สมการ ถดถอย พบว่า ระดับการศึกษาและโอกาสที่ได้รับการอบรมเกี่ยวกับ Hospital accreditation มีผลต่อ ความรู้สึกต่อบรรยากาศในการทำงาน (beta.132 และ beta.126,p<.05) (4) ผลของการเปรียบเทียบ ความคิดเห็นต่อบรรยากาศองค์การของผู้ที่ทำงานในระดับพยาบาลประจำการ ผู้ช่วยพยาบาล พนักงาน ช่วยเหลือการพยาบาล เสมียน และคนงาน โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนของตัวแปร พบว่า มีความแตกต่างกันในด้านการปรับปรุงระบบงาน เป้าหมายและอุดมการณ์ร่วมกันของบุคลากร อย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการทํางานเป็นทีม การใช้ความคิดสร้างสรรค์ การให้ความหมาย ของคุณภาพ การตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ป่วย และความพึงพอใจ ต่อการทํางาน ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ในส่วนของข้อคำถาม ปลายเปิด คณะผู้วิจัยได้นำมาวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรม Ethnograph 4.0 พบว่า ก) ส่วนใหญ่ต้องการ เห็นภาพของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์ในสายตาของผู้รับบริการว่าเป็นโรงพยาบาลที่มีคุณภาพ การบริการที่ดี บุคลากรมีความสามารถ และมีเครื่องมือทันสมัย รวมทั้งค่าบริการไม่แพงนัก ข) ในด้าน อุปสรรค พบว่า มีอุปสรรคที่นโยบายการบริหาร บรรยากาศในการทํางานไม่เอื้ออํานวย ซึ่งมีทั้งจาก บุคลากร การได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และนโยบายขององค์การ ค) สิ่งที่น่าจะได้พัฒนาและ นําไปสู่ความสําเร็จของการทํางานที่มีประสิทธิภาพ คือ การส่งเสริมด้านวิชาการ การส่งเสริมความสามัคคี การมีส่วนร่วมในการพัฒนาหน่วยงาน ปลูกจิตสํานึกในการทํางานและรักงานของบุคลากรทุกระดับ การได้รับการยอมรับจากผู้ร่วมงาน ไม่มีการแบ่งระดับ และผู้บริหารควรยอมรับฟังปัญหา

DOI

10.58837/CHULA.CUNS.12.1.2

First Page

10

Last Page

21

Included in

Nursing Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.