•  
  •  
 

Environmental Journal

Publication Date

2018-07-01

Abstract

ไลเคนถูกนำมาใช้เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในยุโรปและอเมริกา การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ไลเคนตรวจวัดและประเมินคุณภาพอากาศในสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร โดยทำการเก็บตัวอย่างไลเคนชนิด Parmotrema tinctorum จากบริเวณที่มีอากาศบริสุทธิ์ในอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จากนั้นนำไปติดไว้บนต้นไม้ในสวนสาธารณะ 10 แห่ง ในกรุงเทพมหานคร พื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่ควบคุม เป็นระยะเวลา 140 วัน จากนั้นนำตัวอย่างกลับมาวิเคราะห์ปริมาณไนเตรท (NO3-) และซัลเฟต (SO42-) ที่สะสมในไลเคน รวมทั้งวัดค่าทางสรีรวิทยาด้วย พบว่า ปริมาณสารทั้งสองชนิดมีค่าสูงสุดในกรุงเทพมหานคร รองลงมาคือพื้นที่เกษตรกรรม และต่ำสุดที่พื้นที่ควบคุม ส่วนค่าทางสรีรวิทยาพบว่าสวนสาธารณะที่อยู่ในย่านใจกลางเมือง ได้แก่ สวนลุมพินี สวนสันติภาพ และสวนวชิรเบญจทัศ ซึ่งล้อมรอบด้วยการจราจรที่หนาแน่น มีค่าต่ำกว่าสวนอื่น ๆ ที่อยู่รอบนอกอย่างชัดเจน บ่งชี้ว่าไลเคนที่ย้ายปลูกในสวนเหล่านี้ได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศมากกว่า การศึกษานี้ยืนยันว่าไลเคนสามารถนำมาใช้เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพอากาศในประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการวัดค่าทางสรีรวิทยาของไลเคนสามารถใช้เป็นสัญญาณเตือนภัยเบื้องต้นของมลพิษทางอากาศได้

First Page

56

Last Page

64

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.