Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The impact of advance care planning on palliative elderly acute myeloid leukemia patients in King Chulalongkorn Memorial Hospital

Year (A.D.)

2019

Document Type

Thesis

First Advisor

ปณิสินี ลวสุต

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

อายุรศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2019.1489

Abstract

ที่มาและความสำคัญ: ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับการวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้าในผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอีลอยด์ในประเทศไทย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาว่าผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอีลอยด์ที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ที่มีการวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้ามีการตายดี กว่าผู้ที่ไม่มีการวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้าหรือไม่ วิธีการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณนาโดยการสังเกตแบบไปข้างหน้า ในผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอีลอยด์ที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 60 ปี ได้รับการดูแลแบบประคับประคองที่เข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ศึกษาประเมินโดยการสัมภาษณ์เกี่ยวกับคุณภาพชีวิต และการวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้าทุก 3 เดือน ติดตามจนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิต และเก็บข้อมูลวาระสุดท้ายของชีวิตเพื่อประเมินว่าตายดีหรือไม่ โดยนิยามของตายดี ประกอบด้วย (1.) ผู้ตายยอมรับได้พร้อมที่จะจากไป ได้มีการวางแผนถึงสภาวะแวดล้อมขณะเสียชีวิต (2.) การตายที่ไม่เจ็บปวด ไม่ทุกข์ทรมาน และ (3.) ได้รับการดูแลทางอารมณ์และจิตวิญญาณตามความต้องการ การศึกษาจะประเมินญาติผู้ดูแลเรื่องความทุกข์ และการวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้าต่อผู้ป่วยด้วย ผลการศึกษา: ตั้งแต่ เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 มีผู้ป่วย 20 รายเข้าร่วมการศึกษา ได้รับการรักษาด้วย hypomethylating agents 14 ราย, cytoreductive agents 4 รายและ novel agents 2 ราย ไม่มีผู้ป่วยถูกส่งปรึกษาทีมเชี่ยวชาญดูแลระยะสุดท้าย ผู้ป่วย 2 รายไม่ทราบการวินิจฉัย ค่ามัธยฐานระยะเวลาติดตามอาการ 4 เดือน มีผู้ป่วยเพียง 7 ราย (ร้อยละ 35) ที่มีการวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้า มีผู้ป่วย 13 รายเสียชีวิตระหว่างติดตามค่ามัธยฐานระยะเวลารอดชีวิต 10.3 เดือน โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ร้อยละ 92 เสียชีวิตในโรงพยาบาล ค่ามัธยฐานจำนวนวันที่นอนรักษาในโรงพยาบาล 7.5 วัน สาเหตุการเสียชีวิตส่วนใหญ่คือโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอีลอยด์เอง 11 ราย (ร้อยละ 84.7) ผู้ป่วยที่ได้รับการทำหัตถการกู้ชีพ เช่นใส่ท่อช่วยหายใจ, ส่องกล้องหลอดลม, ได้รับยากระตุ้นหัวใจและหลอดเหลือด และ leukapharesis จำนวน 3 รายซึ่งอยู่ในกลุ่มที่ไม่มีการวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้าทั้งหมด ในบรรดาผู้เสียชีวิต กลุ่มที่มีการวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้า 5 รายได้รับการประเมินว่าตายดีทั้งหมด เปรียบเทียบกับ กลุ่มที่ไม่มีการวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้า 8 ราย ได้รับการประเมินว่าตายดี 3 ราย (p=0.024) ในการประเมินคะแนนคุณภาพชีวิต(คะแนนเต็ม 176) พบว่า คะแนนรวมลดต่ำลงในกลุ่มที่เสียชีวิตเมื่อติดตามที่ 3 เดือน (112.7 เทียบกับ 84.5, p =0.56) ซึ่งสัมพันธ์กับการดำเนินโรค และทำให้สมรรถภาพของผู้ป่วยลดลง ในขณะที่คะแนนด้านสังคม อารมณ์และจิตใจไม่เปลี่ยนแปลง กลุ่มที่ไม่มีการวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้ามีแนวโน้มมีคะแนนคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า สำหรับญาติผู้ดูแล 19 ราย สามารถติดตามได้ 2 ครั้ง จำนวน 14 ราย มีค่ามัธยฐานคะแนนความทุกข์ที่คงที่จาก 4 (พิสัย 0-10) เป็น 3(พิสัย 0-10), p=0.6 เมื่อติดตามที่ 3 เดือน โดยคะแนนความทุกข์ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่มีและไม่มีการวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้า มีเพียงความทุกข์ด้านอารมณ์และจิตใจอย่างเดียวเท่านั้นที่ส่งผลต่อญาติผู้ดูแล สรุปการศึกษา: ผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดไมอีลอยด์ที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ที่ได้มีการวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้ามีการตายดีกว่า ผู้ที่ไม่มีการวางแผนดูแลรักษาตนเองล่วงหน้า

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Background: There is no prospective data of palliative care and advance care planning (ACP) in Thai acute myeloid leukemia (AML) patients. Methods: We conducted an observational study in elderly AML (≥60 years) who received palliative treatment. To assess whether patients who have ACP associated with good death, which defined by the composite of dying process of preferences, pain-free and well emotional status. Patients would be interviewed every 3 months about quality of life, palliative care received and ACP. Main caregivers were also separately interviewed for their distress and ACP. At the end of life, death characteristics were evaluated. Results: From January 2019 to January 2020, 20 patients were included. The patients were treated with hypomethylating agents (14), cytoreductive agents (4) and novel agents (2). All palliation was successfully conducted by their primary hematologists, without palliative specialist consultation. Two patients (10%) did not know diagnosis. The median follow-up was 4.0 months, only 7 patients (35%) had ACP. Thirteen patients died. Median survival was 10.3 months. Most patients died in the hospital (92%) with the median of 7.5 days of admission. The major cause of death was AML (84.7%). Just patients lacking ACP underwent invasive procedures (intubation, bronchoscopy, leukapharesis), although, none had chest compression. Among the deaths, all 5 patients who had ACP were defined as good death, compared with 3 of 8 patients without ACP (p=0.024). Patient’s quality of life mainly reflected from disease status. FACIT-Leu total score (min 0, max 176) declined after follow up 3 months in death group, accordingly to disease progression (112.7 vs. 84.5,p=0.56). Social and emotional well-being fortunately could be maintained overtime. Patients who had not initiated ACP seemed to have higher performance status, nevertheless, some of them shortly passed away. For the 19 caregivers, 14 of them could be followed up twice. Median score of distress was similar after 3-month follow up (4 range 0-10 vs. 3 range 0-10, p=0.6) and no significantly different between ACP and non-ACP group. Emotional stress was the only concerned. Taking care of the patients had no impact on caregivers’ personal issue. Conclusion: ACP was associated with good death. Additional study is warrant on timing of ACP to improve the quality of our care.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.