Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Development of a causal models on physical activity of secondary school students: model invariance analysis

Year (A.D.)

2019

Document Type

Thesis

First Advisor

สุธนะ ติงศภัทิย์

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Curriculum and Instruction (ภาควิชาหลักสูตรและการสอน)

Degree Name

ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

สุขศึกษาและพลศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2019.1424

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ระดับการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 2) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) ศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 4) วิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีต่อการมีกิจกรรมทางกายระหว่างช่วงชั้นระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 5) นำเสนอแนวทางในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่สอดคล้องกับโมเดลเชิงสาเหตุ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร มี 4 กลุ่ม คือ นักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 523 คน นักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 566 คน นักเรียนเรียนชายมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 568 คน และนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 543 คน ได้มาจากการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีความเที่ยงในการวัดตัวแปรแต่ละตัวตั้งแต่ .814-.962 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง และการทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลสมมติฐานระหว่างช่วงชั้น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) นักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายมีระดับกิจกรรมทางกายในระดับปานกลาง และนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายมีระดับกิจกรรมทางกายในระดับเบา 2) โมเดลเชิงสาเหตุของการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ที่พัฒนาขึ้นทั้ง 4 กลุ่ม มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยตัวแปรอิสระในโมเดลอธิบายสาเหตุของการมีกิจกรรมทางกายของกลุ่มนักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนต้น คิดเป็นร้อยละ 78 (Chi-square = 26.419, df = 17, p = 0.067, CFI = 0.997, TLI = 0.991) ตัวแปรอิสระในโมเดลอธิบายสาเหตุของการมีกิจกรรมทางกายของกลุ่มนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้น คิดเป็นร้อยละ 36 (Chi-square = 24.00, df = 18, p = 0.155, CFI = 0.998, TLI = 0.993) ตัวแปรอิสระในโมเดลอธิบายสาเหตุของการมีกิจกรรมทางกายของกลุ่มนักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนปลาย คิดเป็นร้อยละ 48 (Chi-square = 25.101, df = 1, p = 0.157, CFI = 0.998, TLI = 0.994) ตัวแปรอิสระในโมเดลอธิบายสาเหตุของการมีกิจกรรมทางกายของกลุ่มนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนปลาย คิดเป็นร้อยละ 98 (Chi-square = 32.024, df = 24, p = 0.126, CFI = 0.997, TLI = 0.992) 3) ปัจจัยภายในตนเองมีอิทธิพลทางตรงเพียงทางเดียวต่อการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียน ปัจจัยเพื่อนมีอิทธิพลทางอ้อมเพียงทางเดียวต่อการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียน ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียน ได้แก่ ปัจจัยวิชาพลศึกษา ปัจจัยครอบครัว และปัจจัยการบริหารของโรงเรียน 4) โมเดลสมมติฐานวิจัยของนักเรียนทั้ง 2 กลุ่ม มีความแปรเปลี่ยนของพารามิเตอร์เมทริกซ์สัมประสิทธิ์อิทธิพลเชิงสาเหตุจากตัวแปรแฝงภายนอกไปยังตัวแปรแฝงภายใน 5) แนวทางในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของนักเรียน มี 3 แนวทาง ได้แก่ แนวทางการปลูกฝัง แนวทางการกระตุ้น และแนวทางการสนับสนุน

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purposes of this research were 1) to analyzed of physical activity level of secondary school students, 2) to develop the causal model of physical activity of secondary school students, 3) to study direct effect and indirect effect of factors affecting physical activity of secondary school students, 4) to test the model invariance among 2 different class level, and 5) to promote physical activity of secondary school students. The participants consisted of 2,200 students from 4 groups, male lower secondary school students, female lower secondary school, male higher secondary school students, and female higher secondary school students, recruited from multistage random sampling technique. Data were collected questionnaire with reliability ranged .814-.962 and analyzed by using descriptive statistics, structure equation mode analysis and multiple group analysis. The major findings were as follows: 1) The physical activity level among male secondary school students was moderately active level and the physical activity level among female secondary school students was light active level. 2) The causal model of physical activity for each group, male lower secondary school students (Chi-square = 26.149, df = 17, p = .067, CFI = .997, TLI = 991), female lower secondary school students (Chi-square = 24.007, df = 18, p = .155, CFI = .998, TLI = 993), male higher secondary school students (Chi-square = 25.101, df = 19, p = .157, CFI = .998, TLI = 994), female higher secondary school students (Chi-square = 32.02, df = 24, p = .126, CFI = .997, TLI = 992), were best fit to the empirical data. All independent variables in the model accounted for 78%, 36%, 48%, and 98% of total variance of physical activity behavior of male lower secondary school students, female lower secondary school, male higher secondary school students, and female higher secondary school student, respectively. 3) Individual factors were influence on physical activity of students which resulted purely from the direct effect. Friend factors were influence on physical activity of students which resulted purely from the indirect effect. Whereas at the factors which have direct and indirect influence on the physical activity of the students are physical education factors, family factor and the administration of school factors. 4) The two causal models of each class level group were invariant for model form. However, the causal effects between latent exogenous variables and latent endogenous variables, were significantly different across class level groups. 5) The student guidelines for promoting physical activities suggests a 3-way integrated approach as follows: (1) Cultivate guidelines (2) Enhance guidelines (3) Supporting guidelines

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.