Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2022

Document Type

Independent Study

First Advisor

อาร์ม ตั้งนิรันดร

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2022.159

Abstract

ภาษีความมั่งคั่ง ถือเป็นภาษีทางตรงที่เรียกเก็บจากบุคคลที่มีฐานะร่ำรวยและถือเป็นภาษีทรัพย์สินชนิดหนึ่ง ซึ่งภาษีทรัพย์สินนั้นเป็นภาษีที่มีความสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาส่วนท้องถิ่น เนื่องจากหลักการการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินโดยทั่วไปนั้น จะจัดเก็บจากอสังหาริมทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในแต่ละท้องถิ่นเพื่อนำเงินรายได้ไปใช้จ่ายในการจัดหาบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนและพัฒนาท้องถิ่นนั้น ๆ ให้มีความเจริญมากยิ่งขึ้น หากประเทศใดมีระบบการจัดเก็บภาษีทรัพย์สินที่ดีก็จะมีรายได้เพียงพอที่จะพัฒนาท้องถิ่นและลดภาระของรัฐบาลกลางที่จะต้องให้เงินอุดหนุนแก่ท้องถิ่นลงได้ จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีทรัพย์สินหลายฉบับ ซึ่งบางฉบับนั้นยังมีข้อบกพร่องหลายประการทั้งในด้านโครงสร้างภาษีและการบริหารจัดเก็บภาษี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ส่งผลให้เงินรายได้จากภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่เพียงพอที่จะนำไปพัฒนาบริหารท้องถิ่น กล่าวคือ ในด้านโครงสร้างภาษีของกฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีวิธีการบรรเทาภาระภาษีในส่วนของการลดอัตราภาษีและการยกเว้นภาษีสำหรับที่อยู่อาศัยและเกษตรกรรม โดยไม่ได้คำนึงถึงมูลค่าของทรัพย์สินที่ถือครอง ทำให้ผู้ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่าน้อยมีภาระภาษีมากกว่าผู้ที่ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่าสูง ประกอบกับอัตราภาษีที่ต่ำเกินไปจนกระทั่งไม่เป็นภาระแก่ผู้ถือครองทรัพย์สินทำให้ไม่มีการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินและกระจายทรัพย์สินที่ถือครอง ซึ่งขัดกับหลักประโยชน์ที่ได้รับและขัดกับวัตถุประสงค์ในการประกาศใช้พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 สำหรับในด้านการบริหารจัดเก็บภาษีนั้น มีการจัดเก็บภาษีในลักษณะที่เอื้อประโยชน์ให้แก่คนรวยและก่อให้เกิดการเลี่ยงภาษีได้ง่าย อีกทั้ง การประเมินมูลค่าทรัพย์สินซึ่งกำหนดให้ใช้มูลค่าประเมินโดยกรมธนารักษ์ที่เกิดขึ้นจากประเภทของทรัพย์สินและการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้น ยังขาดประสิทธิภาพและไม่มีความเป็นธรรม ดังนั้น ผู้เขียนเอกัตศึกษาฉบับนี้จึงมุ่งเน้นศึกษาและค้นคว้าข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาภาษีทรัพย์สินของประเทศไทยในส่วนพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 และการนำหลักเกณฑ์และวิธีการการจัดเก็บภาษีความมั่งคั่งของประเทศมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับประเทศไทยเป็นหลัก โดยเฉพาะการขยายฐานภาษีทรัพย์สินเพื่อให้รัฐบาลมีรายได้ที่เพียงพอต่อการบริหารพัฒนาประเทศซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่การจัดเก็บภาษีทรัพย์สินของประเทศไทย ประกอบกับสร้างความเป็นธรรมให้แก่สังคมและลดความเหลื่อมล้ำในประเทศได้

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.