Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2021

Document Type

Independent Study

First Advisor

มานิตย์ จุมปา

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2021.155

Abstract

รายงานเอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ถึงปัญหาการจัดเก็บภาษีเงินได้ที่เกิด จากคริปโทเคอร์เรนซีใน 3 ด้านหลัก ๆ ได้แก่ (1) การกำหนดประเภทเงินได้ (2) หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้ (3) วิธีการคำนวณมูลค่ารวมถึงการกำหนดต้นทุนเพื่อจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ด้วยวิธีการศึกษาเรียบ เรียงวิธีวิจัยเชิงเอกสารเกี่ยวกับเรื่องรูปแบบของสินทรัพย์ดิจิทัล กิจกรรมที่ก่อให้เกิดเงินได้จากคริปโทเคอร์เรน ซี รวมถึงมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้จากคริปโทเคอ์เรนซีของประเทศไทยและ ประเทศสหรัฐอเมริกา ภายหลังการศึกษาได้นำข้อมูลที่ได้รวบรวมมาทำการวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบ มาตราการจัดเก็บภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้องกับคริปโทเคอร์เรนซีในประเทศไทยและในประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อ หาแนวทางในการกำหนดประเภทเงินได้พึงประเมิน หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้ วิธีการคำนวณมูลค่ารวมถึง การกำหนดต้นทุนเพื่อจัดเก็บภาษี เพื่อให้สามารถใช้บังคับเป็นแนวทางการจัดเก็บภาษีเงินได้อย่างตรงตาม วัตถุประสงค์และให้มีความชัดเจนต่อนักลงทุนไทยเพื่อเสียภาษีได้อย่างถูกต้อง จากการศึกษาพบว่า สกุลเงินดิจิทัลหรือคริปโทเคอร์เรนซีได้รับความสนใจอย่างแพร่หลายว่าจะเป็น สื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมูลค่าที่จะมาทดแทนการใช้เงินสดในปัจจุบัน จะเห็นว่าธนาคารกลางแต่ละประเทศ ได้มีการศึกษาการออกสกุลเงินดิจิทัล หรือที่เรียกว่าสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลาง (Central Bank Digital Currency “CBDC”) จากเทรนโลกที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้หลาย ๆ ประเทศออกกฎหมายเพื่อกำกับ ดูแลการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับคริปโทเคอร์เรนซี รวมถึงประเทศไทยได้มีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ คริปโทเคอร์เรนซีอยู่ 2 ฉบับ คือ พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561 ซึ่งออกมาเพื่อ กำกับธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อให้มีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน โปร่งใส รวมถึงคุ้มครองผู้ลงทุนจากการลงทุน ในสินทรัพย์ดิจิทัล และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 19 พ.ศ. 2561 ซึ่งออกมาเพื่อ กำหนดส่วนเพิ่มประเภทย่อยที่เกิดจากคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลให้เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) แห่งประมวลรัษฎากร และกำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินดังกล่าวมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา ร้อยละ 15 ของเงินได้ตามมาตรา 50 (2) (ฉ) แห่งประมวลรัษฎากร โดยผู้มีเงินได้ต้องนำเงินได้จากคริปโทเคอร์ เรนซีดังกล่าวไปรวมคำนวณเงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีที่มีเงินได้ จากผลการศึกษาโดยวิธีการเปรียบเทียบมาตราการจัดเก็บภาษีเงินได้ที่เกี่ยวข้องกับคริปโทเคอร์เรนซี ในประเทศไทยและในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าทั้งสองประเทศมีมุมมองต่อคริปโทเคอร์เรนซีที่คล้ายกัน กล่าวคือ ในการตีความว่าคริปโทเคอร์เรนซีเป็นประเภทหนึ่งของสินทรัพย์ เนื่องจากมีเงินได้ในรูปดอกผลหรือ กำไรจากการลงทุน ไม่ได้มีลักษณะเป็นเงินตราเนื่องจากมีความผันผวนสูง และมีการจัดเก็บภาษีจากกำไร ส่วนเกินทุน (Capital gain) โดยมีความแตกต่างกันในเรื่องที่ศึกษา 3 ด้านหลัก ๆ คือ (1) การกำหนดประเภท เงินได้ (2) หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้ และ (3) วิธีการคำนวณมูลค่ารวมถึงการกำหนดต้นทุนเพื่อจัดเก็บภาษี ในประเทศสหรัฐอเมริกาจะกำหนดวิธีการคำนวณต้นทุนไว้ชัดเจน และสามารถนำผลขาดทุนมาหักกลบกับ กำไรได้ ในขณะที่ประเทศไทยไม่ได้กำหนดวิธีการคำนวณต้นทุนไว้ชัดเจน จากการศึกษาผู้เขีย นมีข้อสรุปในเรื่องของกำหนดประเภทเงินได้จากคริปโทเคอร์เรนซีตามประมวลรัษฎากรมีความเหมาะสมแล้ว กล่าวคือ เงิน ได้ที่งอกเงยจากการลงทุนและกำไรจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซี ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) ในส่วนของเงินได้จากการขุด การได้รับชำระราคาด้วยคริปโทเคอร์เรนซี หรือในกรณีอื่น ๆ ถือเป็นเงินได้พึง ประเมินตามมาตรา 40 (8) นอกจากนี้ผู้เขียนได้เสนอแนะให้กำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในเรื่องการพิจารณา หลักการจัดเก็บภาษีเงินได้ โดยพิจารณจากการขายผ่านศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นเกณฑ์ รวมถึงเสนอ วิธีการคำนวณต้นทุนการขายคริปโทเคอร์เรนซี โดยเสนอให้สามารถเลือกใช้วิธีเข้าก่อนออกก่อน (First in, First Out : FIFO) หรือวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ย และเสนอให้กำไร/ขาดทุนจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคน ดิจิทัลสามารถนำมาหักกลบกันได้เช่นเดียวกับแนวปฏิบัติของประเทศสหรัฐอเมริกา

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.