Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2020

Document Type

Independent Study

First Advisor

ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2020.153

Abstract

เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2562 เกิดการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ในเวลาต่อมา จีนและองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ระบุว่า ไวรัสชนิดนี้คือ "เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่" ซึ่งเชื่อว่ามีต้นตอมาจากตลาดสดที่ขายอาหารทะเลและอาหารป่าในเมืองอู่ฮั่น โดยหลังจากเก็บตัวอย่างไวรัสจากคนไข้นำไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ สำหรับประเทศไทยรู้จักไวรัสในตระกูลนี้มาแล้วจากโรคระบบทางเดินหายใจเฉียบพลันร้ายแรง หรือ โรคซาร์ส (Severe Acute Respiratory Syndrome - SARS) ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อไวรัสโคโรนา และพบการระบาดครั้งแรกปลายปี ค.ศ. 2002 ที่ประเทศจีนเช่นกัน ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในโลกที่พบผู้ติดเชื้อไวรัส โคโรนาสายพันธุ์ใหม่นอกจีนแผ่นดินใหญ่ โดยกระทรวงสาธารณสุขรายงานเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2563 พบว่ามีผู้ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อรายแรกเป็นนักท่องเที่ยวหญิงชาวจีน อายุ 61 ปีเดินทางมาจากเมืองอู่ฮั่นถึงไทยวันที่ 3 มกราคม 2563 โดยเจ้าหน้าที่ได้ตรวจพบจากการคัดกรองด้วยเครื่องเทอร์โมสแกน จากนั้นได้ถูกนำตัวเข้ารับการรักษาที่สถาบันบำราศนราดูรจนหายและตรวจไม่พบเชื้อ ก่อนที่จะเดินทางกลับจีนวันที่ 18 มกราคม 2563 ประเทศไทยเผชิญอยู่กับวิกฤตการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นระยะเวลาเกือบ 1 ปี และดูเหมือนว่าสถานการณ์กำลังจะดีขึ้นแต่ก็กลับชะงักลงอีกครั้ง หลังจากพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีกในระลอกที่ 2 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 ซึ่งเป็นวันที่พบหญิงไทยวัย 67 ปี อาชีพค้าขายที่ตลาดกลางกุ้ง ในตำบลมหาชัย อำเภอเมืองสมุทรสาคร ติดเชื้อโดยไม่มีประวัติการเดินทางออกนอกประเทศ ซึ่งหมายความว่าผู้ติดเชื้อรายนี้ไม่ได้เป็น "ต้นเชื้อ" ทางกรมควบคุมโรคจึงได้พยายามค้นหาต้นเชื้อหรือสาเหตุการติดเชื้อของหญิงรายนี้ ซึ่งคาดว่าเป็นการติดเชื้อจากแรงงานชาวเมียนมาในตลาดกลางกุ้ง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีแรงงานเมียนมาอยู่อย่างหนาแน่น นอกจากนี้ยังพบอีกว่าการกระจายของเชื้อในรอบนี้ไม่ใช่สายพันธุ์จากเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนแล้ว แต่กลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ G ซึ่งแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วมากกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม 8 - 9 เท่าตัว จึงเป็นเหตุให้คนไทยกลับมาเผชิญกับวิกฤตการณ์ของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อีกครั้ง ซึ่ง ณ วันที่ทำวิจัยฉบับนี้สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ก็ยังคงไม่มีแนวโน้มที่จะมีจำนวนผู้ติดเชื้อลดลง แม้ว่าจะมีวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ผ่านการทดลองในคนในระยะที่ 3 และมีการอนุมัติให้ใช้เป็นกรณีฉุกเฉินอยู่ในหลายประเทศ ในเวลานี้มีอยู่ด้วยกัน 6 ตัวด้วยกัน คือ ไฟเซอร์/ไบออนเทค, โมเดอร์นา, แอสทราเซเนกา, สปุตนิควี, ซิโนฟาร์ม และซิโนแวค ซึ่งสำหรับประเทศไทยนั้น กระทรวงสาธารณสุขมีการจัดหาวัคซีนโควิด 19 เร่งด่วน 2 ล้านโดสจากซิโนแวค ประเทศจีน ซึ่งคาดว่าจะทยอยฉีดให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และกลุ่มเสี่ยง 5 จังหวัดที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดก่อน อย่างไรก็ดีวัคซีนโรคโควิด 19 ไม่ว่าจะมาจากบริษัทผลิตวัคซีนใดก็ตามยังคงมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดผลข้างเคียงต่าง ๆ ได้ในอนาคต ด้วยเหตุความไม่แน่นอนของสถานการณ์โรคระบาดนี้ จึงทำให้บริษัทต่าง ๆ ในประเทศไทยมีการปรับลักษณะการทำงานให้กับแรงงานในระบบเพื่อป้องกันการระบาดของโรค เช่น การประกาศให้มีการทำงานที่บ้าน (work from home) การประชุมออนไลน์ รวมถึงการปรับลดวันทำงานลงพร้อมกับปรับลดเงินเดือน โบนัส และสวัสดิการที่เคยให้แก่แรงงานในระบบลง เนื่องจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจภายในประเทศไทยทำให้บริษัทต่าง ๆ ในประเทศไทยมีรายรับลดลง แรงงานในระบบในบริษัทต่าง ๆ จึงได้รับผลกระทบจากสถาณการณ์นี้ไปด้วย แม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยจะไม่ได้มีจำนวนสูงสุดหรืออยู่ในลำดับต้น ๆ เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ติดเชื้อในต่างประเทศ แต่ก็ทำให้เศรษฐกิจในประเทศย่ำแย่และได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงที่สุดในรอบหลาย ๆ ปีที่ผ่านมาและยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดลง จึงส่งผลให้แรงงานในระบบได้รับผลกระทบและแบกรับภาระมากกว่าทุก ๆ ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ดีทางกรมสรรพากรได้ออกมาตรการทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อช่วยเหลือแรงงานในระบบ เช่น การเลื่อนกำหนดเวลายื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี การยกเว้นภาษีสำหรับค่าตอบแทนของบุคลากรทางการแพทย์ การเพิ่มวงเงินหักลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพ เป็นต้น แต่มาตรการดังกล่าวเหล่านี้ก็ยังไม่เพียงพอและยังไม่ครอบคลุมถึงความจำเป็นในการทำงานให้กับแรงงานในระบบ การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำเนื่องจากเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ไม่สอดคล้องกับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าผู้เสียภาษีรวมถึงแรงงานในระบบนั้น แม้จะมีเงินได้ลดลงเนื่องจากการมีภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากวิกฤตการณ์ดังกล่าว แต่ยังคงต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่ต่างจากเดิม ด้วยเหตุนี้จึงเป็นมูลเหตุให้ผู้เขียนมุ่งเน้นศึกษาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายโดยเพิ่มมาตรการการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นการหักค่าลดหย่อนหรือหักค่าใช้จ่ายให้เพียงพอและครอบคลุมถึงวิถีการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงสถานการณ์ดังกล่าว

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.