Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2020

Document Type

Independent Study

First Advisor

กฤติกา ปั้นประเสริฐ

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2020.142

Abstract

ปัญหาในการจัดเก็บภาษีอากรสำหรับสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร ยังมีความคลุมเคลือไม่ชัดเจนต่อ ผู้ประกอบการจำแนกพิกัดอัตราศุลกากรของเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ไม่เป็นไปในทางทิศเดียวกันนั้น ซึ่งแต่ละ หน่วยงานที่มีอำนาจนั้นต่างฝ่ายต่างใช้ดุลยพินิจของตนในการจำแนกพิกัดอัตราศุลกากร ทำให้ผู้ประกอบการ สับสนและไม่เข้าใจถึงความไม่ชัดเจนของการจำแนกพิกัดศุลกากรของแต่ละหน่วยงานส่งผลให้ผู้ประกอบการไม่ สามารถที่จะคาดการณ์ของธุรกิจตนเองได้เลยเนื่องจากอาจถูกเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง หรืออาจเสียเบี้ยปรับและ เงินเพิ่ม เป็นต้น แม้ในปัจจุบันปัญหาการจำแนกพิกัดอัตราศุลกากรที่ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันนั้นแก้โดยให้ อำนาจอธิบดีกรมศุลกากรตีความพิกัดอัตราศุลกากรโดยวิธีออกประกาศแจ้งพิกัดอัตราศุลกากร แต่อธิบดีกรม ศุลกากรมักจะไม่ใช้วิธีนี้ในการแก้ไขปัญหาทุกครั้งเนื่องจากการออกประกาศแจ้งพิกัดศุลกากรนั้นอาจเกิดความไม่ ยุติธรรม อีกทั้งยังมีการให้บริการการจำแนกประเภทพิกัดศุลกากรล่วงหน้า ซึ่งเป็นวิธีที่ดีและใช้กันหลายประเทศ แต่ในประเทศไทยยังมีข้อจำกัดที่เกิดขึ้น คือยังขาดบุคลากรในการให้บริการ จึงทำให้มีความล่าช้าเกิดขึ้น จากการวิจัยผู้วิจัยได้มีการสัมภาษณ์ผู้อำนวยการส่วนมาตรฐานพิกัดอัตราศุลกากร พนักงานบริษัทเอกชน และผู้ประกอบการรายย่อย ในประเด็นปัญหาการจำแนกพิกัดอัตราศุลกากรที่ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน การออก ประกาศแจ้งพิกัดอัตราศุลกากร และการให้บริการการจำแนกประเภทพิกัดศุลกากรล่วงหน้า อีกทั้งยังศึกษาและ แนวทางการแก้ไขของทฤษฎีไคเซ็น (KAIZEN Theory) ซึ่งเป็นแนวทางในการปรับปรุงขั้นตอนการผ่านพิธีการ ศุลกากรในการนำสินค้าเข้ามาของผู้ประกอบการ โดยการสลับขั้นตอนเท่านั้น อาจจะเป็นการแก้ไขไม่มากนัก แต่ ได้ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อสาธารณะ (Public Value) โดยประโยชน์ของการสลับขั้นตอนจะทำให้มีการพิจารณา พิกัดศุลกากรแก่สินค้าก่อน ผู้ประกอบการจึงนำผลการพิจารณาพิกัดศุลกากรไปกรอกในใบขนสินค้า ซึ่งวิธีนี้จะ คล้ายกับการขอคำวินิฉัยพิกัดศุลกากรล่วงหน้าแต่จะเหมาะสมกว่าหลายประการ ดังนั้นหากประเทศไทยมีกฎหมายที่กำหนดไว้ชัดเจนต่ออำนาจดุลยพินิจชี้ขาดของการจำแนกพิกัดอัตรา ศุลกากรปัญหาข้อพิพาทดังกล่าวนั้นอาจลดลงไปได้ นอกจากนี้ควรพัฒนาบุคลากรที่มีอยู่ให้เชี่ยวชาญในประเภท สินค้าอย่างต่อเนื่องเพื่อลดปัญหาการให้บริการการจำแนกพิกัดล่วงหน้าล่าช้า หากกรมศุลกากรสามารถแก้ปัญหา จุดนี้ได้ ย่อมสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ประกอบการและสร้างความชัดเจนในการจัดเก็บภาษีที่อย่างถูกต้องและเป็น ธรรมมากขึ้น

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.