Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2020

Document Type

Independent Study

First Advisor

์วิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2020.141

Abstract

การรับรู้รายได้และรายจ่ายของธุรกิจประกันชีวิตต้องอาศัยการคำนวณโดยใช้การประมาณ การและสมมติฐานที่สำคัญ เช่น สมมติฐานทางคณิตศาสตร์ประกันภัย ความเสี่ยงทางด้านการเงิน ความเสี่ยงจากตัวสัญญาประกันภัย และการคิดลดมูลค่าเงินปัจจุบัน เป็นต้น เมื่อทำการศึกษาการรับรู้ รายได้และรายจ่ายเพื่อคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากรที่กำหนดให้ ใช้เกณฑ์สิทธิ์โดยให้รับรู้รายจ่ายสำรองประกันชีวิตและรายจ่ายสำรองเบี้ยของสัญญาที่ไม่ใช่สัญญา คุ้มครองชีวิตเฉพาะส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 65 และ 40 ของจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ได้รับในรอบ ระยะเวลาบัญชีหลังจากหักเบี้ยประกันภัยซึ่งเอาประกันต่อออกแล้ว ตามลำดับ หลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่สอดคล้องกับลักษณะการรับรู้รายได้และรายจ่ายตามรูปแบบการ ดำเนินธุรกิจของบริษัท รวมถึงการรับรู้รายได้และรายจ่ายทางบัญชีรูปแบบใหม่ตามมาตรฐานการ รายงานทางการเงินฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาประกันภัย ที่จะมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 2567 และ กำหนดให้บริษัทรับรู้รายได้และรายจ่ายจากการรับประกันภัยสำหรับความคุ้มครองที่เหลืออยู่โดย สะท้อนการให้การบริการตามสัญญาและสิ่งตอบแทนที่บริษัทคาดว่าจะมีสิทธิได้รับจากการให้บริการ ดังกล่าวโดยใช้หลักการปันตามการล่วงของเวลา ความแตกต่างดังกล่าวส่งผลให้เกิดผลต่างระหว่าง กำไร (ขาดทุน) สุทธิทางภาษีและกำไรที่ (ขาดทุน) ที่แท้จริงจากการดำเนินธุรกิจ ทำให้เกิดต้นทุนค่า เสียโอกาสในการนำเงินรายได้เบี้ยประกันภัยไปลงทุนเพื่อให้เกิดผลตอบแทนส่วนเพิ่มและเงินสำรอง ของบริษัทที่ควรกันไว้สำหรับผู้เอาประกันภัย เมื่อทำการศึกษาและวิเคราะห์เปรียบเทียบหลักเกณฑ์การรับรู้รายได้และรายจ่ายของบริษัท ประกันชีวิตของเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐเกาหลีพบว่ามี ความสอดคล้องกันระหว่างกับลักษณะการรับรู้รายได้และรายจ่ายตามรูปแบบการดำเนินธุรกิจของ บริษัทประกันชีวิต รวมถึงหลักการทางบัญชีและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง เช่น มาตรฐานการบัญชีและ มาตรฐานการรายงานทางการเงินและรายงานตามข้อบังคับที่บริษัทถือปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน ส่งผลให้ รายจ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เกิดขึ้นมีความสมเหตุสมผลและไม่เป็นภาระที่เกินความจำเป็น ดังนั้น การแก้ไขบทบัญญัติตามกฎหมายให้บริษัทประกันชีวิตในประเทศไทยสามารถรับรู้ รายได้และรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลที่สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจ ตามที่ได้มีการ ปฏิบัติในต่างประเทศ นอกจากจะทำให้เกิดความเป็นธรรมแก่ภาคธุรกิจในเรื่องของภาระรายจ่ายภาษี เงินได้ ยังช่วยเพิ่มสภาพคล่อง เงินสำรองและเงินทุนสะสม เพื่อใช้ในการลงทุนและเกิดประโยชน์ต่อผู้ เอาประกันภัย

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.