Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2019

Document Type

Independent Study

First Advisor

พัฒนาพร โกวพัฒนกิจ

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายการเงินและภาษีอากร

DOI

10.58837/CHULA.IS.2019.184

Abstract

การประกอบธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคลประเภทบริษัทจ้ากัดหรือบริษัทมหาชนจ้ากัด จำต้องอาศัยแหล่งเงินทุนเพื่อนำไปประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืน ที่ผ่านมามีบริษัทในประเทศไทยจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้เกิดภาวะการขาดทุนสะสมภายในบริษัทต่อเนื่องกันมา แม้ว่ากรมสรรพากรจะมีมาตรการในการช่วยเหลือบริษัทที่ยังคงมีผลขาดทุนสะสม ดังนั้น หลายบริษัทในประเทศไทยที่ยังคงมีผลขาดทุนสะสมอย่างต่อเนื่อง และไม่สามารถที่จะกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินในประเทศไทยหรือในต่างประเทศได้ การจัดหาแหล่งเงินทุนภายนอก (External Source of fund) ประเภทการออกจ้าหน่ายหุ้นสามัญ (Common Stock) หรือการออกจำหน่ายหุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) จึงได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมในเวลาต่อมา เดิมการออกหุ้นโดยมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นสามารถกระท้าได้หากเป็นไปตามข้อบังคับและหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทตามที่มาตรา 1105 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ และไม่ได้มีกฎหมายอื่นใดกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องกำหนดส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในอัตราส่วนเท่าใด นอกจากนั้นหากได้รับช้าระค่าหุ้นพร้อมทั้งส่วนล้ำมูลค่าหุ้นตามมาตรา 1202 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รวมถึงมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35 เรื่องการนำเสนองบการเงิน ให้ถือว่า ส่วนล้ำมูลค่าหุ้นเป็นส่วนของเจ้าของ (Equity) ที่ไม่ต้องน้ามาค้านวนเพื่อเสียภาษีเงินได้ และไม่ใช่รายรับที่ต้องน้าไปค้านวนเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มรวมถึงมีข้อหารือกรมสรรพากรให้ความเห็นสนับสนุนหลักการดังกล่าวเรื่อยมา ต่อมาในปี 2559 ได้มีค้าพิพากษาศาลฎีกาหมายเลขคดี 2050/2559 ระหว่างบริษัทเอ็นอีซี (ประเทศไทย) จ้ากัด (โจทก์) และ กรมสรรพากร (จ้าเลย) ได้มีแนวคำวินิจฉัยตัดสินให้ส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในกรณีดังกล่าว ถือเป็นเงินให้เปล่าหรือเงินช่วยเหลือ ซึ่งถือเป็นรายได้ที่ต้องน้าไปรวมค้านวนเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร และต่อมาจึงได้มีแนวค้าวินิจฉัยของกรมสรรพากรเดินตามแนววินิจฉัยของศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรดังกล่าว ดังนั้น เอกัตศึกษาฉบับนี จึงมุ่งศึกษาถึงแนวความคิดและความแตกต่างระหว่างการตีความของกรมสรรพากรเดิมกับแนวค้าพิพากษาของศาลฎีกา ซึ่งพบว่าส่วนล้ำมูลค่าหุ้นเป็นส่วนหนึ่งของส่วนทุนของบริษัทและในการจัดหาแหล่งเงินทุนที่ถูกต้อง บริษัทต่าง ๆ สามารถที่จะดำเนินการออกหุ้นเพิ่มทุนโดยมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นได้ แต่ทั้งนี้ หากบริษัทได้ดำเนินการออกหุ้นโดยมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นสูงเกินและมิได้แสดงให้เห็นถึงกิจการของบริษัท อย่างถูกต้องแล้วนั้น ในบางกรณีย่อมเห็นได้ชัดว่าเป็นการหลีกภาษี หรือการเลี่ยงภาษีอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยยังคงขาดความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว จึงควรมีการเพิ่มเติมความหมาย พร้อมทั้งกำหนดรูปแบบการจัดเก็บภาษีไว้ในประมวลรัษฎากร เพื่อความชัดเจนและส่งผลให้ข้อขัดแย้งในการตีความที่จะเป็นข้อพิพาทขึ้นสู่ศาลลดน้อยลง

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.