Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2019

Document Type

Independent Study

First Advisor

ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2019.126

Abstract

ผู้ประกอบการในประเทศไทยจากร้อยละ 99 ของวิสาหกิจไทยนั้นเป็น SMEs การจ้างงาน ของ SMEs มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 82 โดยสัดส่วนของ GDP ที่มาจาก SMEs เป็นจํานวนถึงร้อยละ 42 SMEs จึงเป็นตัวขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจที่สําคัญที่จําเป็นต่อการพัฒนาประเทศ ประเทศไทยจึงมี มาตรการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจากหลายหน่วยงาน ซึ่งมีเพียงสํานักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่มีการออกมาตรการพิเศษในการส่งเสริมการปรับปรุงประสิทธิภาพ การผลิตโดยให้สิทธิและประโยชน์ที่เป็นการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่มาตรการที่ส่งเสริมของ กรมส่งเสริมกลับมีหลักเกณฑ์และข้อปฎิบัติที่ไม่เป็นการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้ สามารถได้เข้าถึงการสนับสนุนได้อย่างจริงจัง เอกัตศึกษาเล่มนี้จัดทําขึ้นเพื่อศึกษาปัญหาการขอรับสิทธิประโยชน์ของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ตลอดจนศึกษา หลักเกณฑ์ที่เป็นข้อจํากัดในการขอรับสิทธิและประโยชน์ เพื่อให้ทราบถึงหลักเกณฑ์และข้อปฎิบัติที่ เป็นอุปสรรคในการยื่นขอรับการสนันสนุนสําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และเพื่อ ประโยชน์ในการพิจารณาหลักเกณฑ์การยื่นขอของมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุง ประสิทธิภาพการผลิตของกรมส่งเสริมการลงทุน จากการศึกษาพบว่า หลักเกณฑ์การพิจารณาให้ ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตเป็นหลักเกณฑ์ที่ไม่เอื้อประโยชน์ต่อ การยื่นขอรับการส่งเสริมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ส่งผลให้ไม่มีการส่งเสริมได้จริง และ ไม่เป็นไปตามนโยบาย ทําให้วิสากิจขนาดกลางและขนาดย่อมไม่สามารถเข้ารับการสนับสนุนได้อย่าง ที่คาดหวัง เนื่องจากหลักเกณฑ์และข้อกําหนดการให้สิทธิและประโยชน์มีความยุ่งยากซับซ้อน และ เป็นหลักเกณฑ์เดียวกันกับวิสาหกิจขนาดใหญ่ ซึ่งไม่ตอบสนองถึงข้อจํากัดและอุปสรรคของวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมที่ต่างกัน เนื่องจากหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ การผลิตเป็นหลักเกณฑ์ที่ไม่เอื้อประโยชน์ต่อการยื่นขอรับการส่งเสริม ส่งผลให้ไม่มีการส่งเสริมได้จริง ในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ผู้เขียนได้เสนอแนวทางแก้ไขโดยให้มีการแยกหลักเกณฑ์การ พิจารณาสําหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่างจากวิสาหกิจขนาดใหญ่ โดยลดหย่อนในการ จัดทําตัวชี้วัด ยกเว้นการจัดทําข้อมูลสนับสนุนเชิงเทคนิค และลดหย่อนหลักเกณฑ์การลงทุน เครื่องจักรที่เป็นอัตโนมัติบางส่วนได้ เพื่อให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้รับการสนับสนุนอ ย่างจริงจังและเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยได้เติบโตเพื่อ ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจไทยได้มากขึ้น

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.