Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2017

Document Type

Independent Study

First Advisor

วุฒิพงษ์ ศิริจันทรานนท์

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2017.5

Abstract

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหามาตรการการจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัล ในประเทศไทย ด้วยวิธีการศึกษาและวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษารวบรวมเอกสารทั้งแบบปฐมภูมิ และทุติยภูมิ เกี่ยวกับต้นกำเนิดและความเป็นมาของเงินดิจิทัล ลักษณะธุรกรรมการใช้สกุลเงินดิจิทัล ต่าง ๆ มาตรการในการจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวข้องกับเงินดิจิทัลทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ รวมทั้ง ปัญหา ข้อจำกัดต่าง ๆ แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้ศึกษารวบรวมมาวิเคราะห์และสังเคราะห์โดย การเปรียบเทียบระหว่างมาตรการการจัดเก็บภาษีในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อหาแนวทางใน การกำหนดมาตรการทางภาษีที่ชัดเจนและสามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จากการศึกษาพบว่า นวัตกรรมทางการเงินได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้หลายประเทศ เกิดการตื่นตัวในวงกว้างต่อการกำหนดมาตรการทางภาษีที่เกี่ยวข้องกับเงินดิจิทัล ด้วยรูปแบบและ ลักษณะเฉพาะตัวของเงินดิจิทัลทำให้กระบวนการทำธุรกรรมที่ใช้เงินดิจิทัลมีความแตกต่างไป จากการทำธุรกรรมในอดีต การทำธุรกรรมที่เกิดขึ้นจะเป็นการทำธุรกรรมระหว่างผู้ใช้งานด้วยกันหรือ ที่เรียกว่า peer to peer จึงเป็นแบบอิสระโดยที่ไม่ต้องอาศัยตัวกลางทางการเงิน และยังทำให้ ผู้ใช้งานได้รับรางวัลจากการตรวจสอบและยืนยันรายการเป็นเงินดิจิทัลอีกด้วย โดยเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2561 ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้พระราชกำหนด การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 และพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2561 ซึ่งเป็นกฎหมายในการกำกับดูแล และควบคุมการประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งมีสาระสำคัญ คือการกำหนดนิยาม ของคำว่าสินทรัพย์ดิจิทัล คริปโทเคอร์เรนซี และโทเคนดิจิทัล รวมถึงมีการกำหนดส่วนเพิ่มประเภท ย่อยของเงินได้พึงประเมินมาตรา 40 (4) แห่งประมวลรัษฎากรและกำหนดให้มีการจัดเก็บภาษี ในอัตราร้อยละ 15 โดยวิธีการหัก ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (2) แห่งประมวลรัษฎากร และต้อง นำไปรวมคำนวณเงินได้สุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากผลการศึกษาจากการศึกษาเปรียบเทียบมาตรการการจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวข้องกับเงิน ดิจิทัลของประเทศญี่ปุ่นและประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าทั้งสองประเทศมีมุมมองต่อเงินดิจิทัล ที่คล้ายกัน กล่าวคือ การตีความว่าเงินดิจิทัลเป็นประเภทหนึ่งของสินทรัพย์ มิใช่เงินตราและมี การจัดเก็บภาษีจากมูลค่าส่วนเกิน (Capital gain) โดยมีความแตกต่างในสาระสำคัญ 3 ประการ คือ (1) ฐานภาษีในส่วนของหลักการการคิดต้นทุนของเงินดิจิทัล (2) การใช้ประโยชน์จากการหักกลบ ระหว่างกำไรและขาดทุน (3) ภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ผู้เขียนได้เสนอแนะให้มีการมีการออกระเบียบหรือ มาตรการรวมถึงแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน ใน การจัดเก็บ ภาษีที่เกี่ยวข้องกับ เงิน ดิจิทัล โดยควรจะพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียของการทำแนวทางต่าง ๆ มาปรับใช้ การลงทุนในระบบ การจัดเก็บข้อมูลเพื่อให้ได้รับมาซึ่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือในระดับสูงในการจัดเก็บภาษี ตลอดจน แนวทางปฏิบัติในเรื่องของภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาประเทศต่อไป

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.