Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

ความสามารถในการทำซ้ำภายในบุคคล ความสามารถในการทำซ้ำระหว่างบุคคล ความสอดคล้องและความปลอดภัยในการวัดความดันลูกตาด้วยปลอกคลุมเครื่องมือโทโนเพนที่ทำจากยางธรรมชาติและฟิล์มพลาสติกชนิดโพลีเอทิลีน

Year (A.D.)

2020

Document Type

Thesis

First Advisor

Krit Pongpirul

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Degree Name

Master of Science

Degree Level

Master's Degree

Degree Discipline

Health Development

DOI

10.58837/CHULA.THE.2020.250

Abstract

Background: Tono-Pen® is a regularly used device. A tip cover is needed to prevent damage to the transducer tip and patient-to-patient contamination. Ocufilm® (OF), latex disposable tip cover, is costly and able to cause allergic reactions. Objective: To evaluate repeatability, reproducibility, and agreement of intraocular pressure measurement with Tono-Pen® using OF and polyethylene wrap tip cover (PE) in human eyes. Materials and Methods: This is a cross-sectional, experimental study. For the right eyes, 4 measurements using PE were done by two raters (A and B) in random order to assess intra-rater repeatability and inter-rater reproducibility. For left eyes, 4 measurements were done by rater A using both PE and OF in random order to assess intra-rater repeatability and agreement. Results: A total of 128 participants were recruited. The mean difference in mmHg (95% limits of agreement, intraclass correlation coefficient) was -0.34 (-3.04 to 2.36, 0.93) for repeatability of PE by rater A in the right eyes, -0.33 (-3.01 to 2.36, 0.93) for repeatability of PE by rater A in the left eyes, -0.02 (-2.88 to 2.83, 0.92) for repeatability of PE by rater B, 0.36 (-3.34 to 4.07, 0.90) for inter-rater reproducibility of PE, -0.42 (-2.75 to 1.91, 0.95) for repeatability of OF by rater A, and -0.71 (-5.18 to 3.76, 0.83) for agreement between both tip covers. The only complication was punctate epithelial erosion. No sight-threatening complications and allergic reactions were found. Cost minimization analysis found that PE had approximately 8-time decreased cost compare to OF. Conclusions: For intraocular pressure measurement with Tono-Pen, PE demonstrated acceptable repeatability, reproducibility, and agreement with OF with a good safety profile.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

บทนำ: อุปกรณ์วัดความดันลูกตาโทโนเพนเป็นเครื่องมือที่มีใช้ทั่วไป โดยต้องมีการสวมปลอกบริเวณปลายอุปกรณ์แบบใช้แล้วทิ้งเพื่อป้องกันความเสียหายต่อตัวรับสัญญาณ และการแพร่กระจายโรคระหว่างผู้ป่วย ปลอกยางธรรมชาติมีราคาสูงและสามารถก่อให้เกิดปฏิกิรยาภูมิแพ้ทางตาได้ วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสามารถในการทำซ้ำภายในบุคคล ความสามารถในการทำซ้ำระหว่างบุคคล ความสอดคล้องและความปลอดภัยของการวัดความดันลูกตาด้วยเครื่องมือวัดความดันลูกตาโทโนเพนโดยใช้ปลอกคลุมปลายอุปกรณ์ที่ทำจากยางธรรมชาติและฟิล์มพลาสติกชนิดโพลีเอทิลีน วัสดุและวิธีการ: การศึกษานี้เป็นการศึกษาทดลองแบบตัดขวาง สำหรับตาข้างขวาจะถูกวัดความดันลูกตา 4 ครั้งด้วยปลอกฟิล์มพลาสติกชนิดโพลีเอทิลีนโดยผู้วัดจำนวน 2 คน ซึ่งมีการสุ่มลำดับในการวัดเพื่อประเมินความสามารถในการทำซ้ำภายในบุคคลและระหว่างบุคคล สำหรับตาข้างซ้ายจะถูกวัดความดันลูกตา 4 ครั้งโดยใช้ปลอกฟิล์มพลาสติกชนิดโพลีเอทิลีนและปลอกยางธรรมชาติ โดยมีการสุ่มลำดับในการวัดเพื่อประเมินความสามารถในการทำซ้ำภายในบุคคลและความสอดคล้อง ผลการศึกษา: การศึกษามีผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งหมด 128 คน ค่าผลต่างเฉลี่ยในหน่วยมิลลิเมตรปรอท (ค่าจำกัดความสอดคล้องที่ 95% และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้น) มีค่าเท่ากับ -0.34 (-3.04 ถึง 2.36 และ 0.93) สำหรับความสามารถในการทำซ้ำภายในบุคคลของปลอกฟิล์มพลาสติกชนิดโพลีเอทิลีนโดยผู้วัด A ในตาข้างขวา -0.33 (-3.01 to 2.36, 0.93) สำหรับความสามารถในการทำซ้ำภายในบุคคลของปลอกฟิล์มพลาสติกชนิดโพลีเอทิลีนโดยผู้วัด A ในตาข้างซ้าย -0.02 (-2.88 ถึง 2.83 และ 0.92) สำหรับความสามารถในการทำซ้ำภายในบุคคลของปลอกฟิล์มพลาสติกชนิดโพลีเอทิลีนโดยผู้วัด B 0.36 (-3.34 ถึง 4.07 และ 0.90) สำหรับความสามารถในการทำซ้ำระหว่างบุคคลของปลอกฟิล์มพลาสติกชนิดโพลีเอทิลีน -0.42 (-2.75 to 1.91, 0.95) สำหรับความสามารถในการทำซ้ำภายในบุคคลของปลอกยางธรรมชาติโดยผู้วัด A และ -0.71 (-5.18 ถึง 3.76 และ 0.83) สำหรับความสอดคล้องของการวัดด้วยปลอกยางธรรมชาติเทียบกับปลอกฟิล์มพลาสติกชนิดโพลีเอทิลีน ภาวะแทรกซ้อนที่พบคือภาวะผิวกระจกตาเป็นจุดถลอกเล็กน้อย ไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงหรือปฏิกิรยาภูมิแพ้จากการวัด การวิเคราะห์ต้นทุนต่ำพบว่าปลอกฟิล์มพลาสติกชนิดโพลีเอทิลีนมีราคาต้นทุนต่ำกว่าปลอกยางธรรมชาติ 8 เท่า สรุป: ปลอกฟิล์มพลาสติกชนิดโพลีเอทิลีนมีความสาามารถในการทำซ้ำภายในบุคคล ความสามารถในการทำซ้ำระหว่างบุคคล ความสอดคล้องของการวัดความดันลูกตาที่ยอมรับได้เมื่อเปรียบเทียบกับปลอกยางธรรมชาติ และมีความปลอดภัยในการใช้งานที่ดี

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.