Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Development of learning activities with mobile devices based on steam education concepts and lateral thinking technique to enhance creative problem solving ability of upper elementary students
Year (A.D.)
2024
Document Type
Thesis
First Advisor
พรสุข ตันตระรุ่งโรจน์
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Department (if any)
Department of Educational Communication and Technology (ภาควิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2024.15
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการจำเป็นในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ตามแนวคิดสะตีมศึกษาร่วมกับเทคนิคการคิดนอกกรอบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ตามแนวคิดสะตีมศึกษาร่วมกับเทคนิคการคิดนอกกรอบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย และ 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ตามแนวคิดสะตีมศึกษาร่วมกับเทคนิคการคิดนอกกรอบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ตัวอย่าวิจัยเป็นครูผู้สอนในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จำนวน 384 คน และตัวอย่างในการใช้ศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ คือ นักเรียนโรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพและความต้องการจำเป็นในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ฯ 2) รูปแบบการกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ตามแนวคิดสะตีมศึกษาร่วมกับเทคนิคการคิดนอกกรอบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 3) แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้เชี่ยวชาญโดยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 4) แบบประเมินรูปแบบการกิจกรรมการเรียนรู้ฯ 5) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ตามแนวคิดสะตีมศึกษาร่วมกับเทคนิคการคิดนอกกรอบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 6) เกณฑ์การประเมินความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนแบบรูบริค และ 7) แบบสอบถามความคิดเห็นต่อรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ฯ การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย 1) วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) วิเคราะห์สภาพและความต้องการด้วยการหาดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNI modified) และ 3) วิเคราะห์ความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โดยการทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. สภาพและความต้องการจำเป็นในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ฯ แบ่งออกเป็น 2 ด้าน 1) ได้แก่ ด้านกระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ และ 2) ด้านการใช้เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมความสามสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ โดยด้านที่มีความต้องการมากอยู่ในด้านกระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ ทั้งนี้ผู้สอนต้องการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่รวมวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ ศิลปะ และคณิตศาสตร์เข้าไว้ด้วยกันข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนอยู่เสมอ (PNImodified = 0.51) เป็นอันดับที่ 1 2. รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ประกอบไปด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมเรียนรู้ 2) ผู้สอน 3) ผู้เรียน 4) การเรียนรู้ด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ 5) แนวคิดสะตีมศึกษา และ 6) เทคนิคการคิดนอกกรอบ และประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) เข้าใจจุดประสงค์ 2) ใช้ประสบการณ์เดิม 3) ค้นข้อมูล 4) หาทางการแก้ปัญหาเป็นไปได้ 5) สร้างสรรค์ผลงานใหม่ และ 6) นำเสนอและประเมินผล 3. ผลการใช้รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ตามแนวคิดสะตีมศึกษาร่วมกับเทคนิคการคิดนอกกรอบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย พบว่า คะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย หลังเรียนมีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purposes of this research were: 1) to study the conditions and necessary needs for developing learning activities with mobile devices based on STEAM education concepts and lateral thinking techniques to enhance creative problem-solving ability; 2) to develop a model for organizing such learning activities; and 3) to study the effects on upper elementary students' creative problem-solving ability. The research sample consisted of 384 upper primary school teachers from schools under the Office of the Private Education Commission (OPEC). Additionally, to study the effects of the mobile learning activity model, 30 fourth-grade students from Assumption Samut Prakan School were selected. The research instruments included: 1) a questionnaire on the conditions and necessary needs for developing mobile learning activities; 2) a model for mobile learning activities based on the STEAM education concept; 3) a structured interview for experts; 4) an evaluation form for the mobile learning activity model; 5) a lesson plan for mobile learning activities; 6) a rubric for evaluating students' creative problem-solving abilities; and 7) a questionnaire on opinions regarding the mobile learning activity model. Data analysis consisted of: 1) analyzing the basic data of the sample group using descriptive statistics, including frequency, percentage, mean, and standard deviation; 2) analyzing the conditions and needs by finding the modified Priority Needs Index (PNI); and 3) analyzing the creative problem-solving ability of upper primary school students through t-tests and content analysis. The research results showed that:1) The conditions and necessary needs for developing learning activities were divided into two areas: a) the teaching and learning process to promote creative problem-solving abilities, and b) the use of technology to enhance creative problem-solving abilities. The area with the highest demand was the teaching and learning process to promote creative problem-solving abilities. In this regard, instructors expressed the highest need (PNImodified = 0.51) for organizing learning processes that consistently integrate science, technology, engineering, arts, and mathematics into the teaching and learning process; 2) The mobile learning activity model comprised six components: 1) a set of learning activities, 2) the instructor, 3) the learner, 4) mobile learning, 5) the STEAM education concept, and 6) lateral thinking techniques. The model consisted of six steps: 1) understanding the purpose, 2) using previous experience, 3) gathering information, 4) finding possible solutions, 5) creating new work, and 6) presenting and evaluating results; 3) The results of implementing the learning activity model showed that the creative problem-solving ability scores of upper elementary students' posttest were significantly higher than pretest at the .05 level.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ยอดคง, ณภัชชา, "การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่ตามแนวคิดสะตีมศึกษาร่วมกับเทคนิคการคิดนอกกรอบเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย" (2024). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 12220.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/12220