Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The international public health norm and alcohol beverage policy in Thailand
Year (A.D.)
2023
Document Type
Independent Study
First Advisor
สุรัตน์ โหราชัยกุล
Faculty/College
Faculty of Political Science (คณะรัฐศาสตร์)
Department (if any)
Department of International Relations (ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ)
Degree Name
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2023.384
Abstract
สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษา บรรทัดฐานระหว่างประเทศด้านการสาธารณสุขกับนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในไทย โดยอธิบายการสร้างบรรทัดฐานระหว่างประเทศขององค์การระหว่างประเทศ ซึ่งนอกจากจะสร้างบรรทัดฐานแล้ว องค์การระหว่างประเทศยังผลักดันให้ประเทศต่าง ๆ ปฏิบัติตาม ประเทศที่นำบรรทัดฐานเหล่านี้ไปปฏิบัติจะต้องพบเจอกับการปะทะระหว่างบรรทัดฐานเดิมกับบรรทัดฐานใหม่ รวมถึงการถกเถียงจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย สารนิพนธ์ฉบับนี้เน้นวิเคราะห์อิทธิพลขององค์การระหว่างประเทศในฐานะผู้สร้างบรรทัดฐานระหว่างประเทศต่อการกำหนดนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของไทย จากการศึกษาพบว่า บรรทัดฐานระหว่างประเทศซึ่งได้รับการผลักดันโดยองค์การอนามัยโลกก่อให้เกิดความสำเร็จในการจัดตั้งหน่วยงานด้านสาธารณสุขที่เข้มแข็ง ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยมีนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เข้มงวด แต่ผลลัพธ์ของการนำนโยบายที่เข้มงวดมาบังคับใช้กลับไม่ได้มีประสิทธิภาพดังที่หน่วยงานสาธารณสุขคาดหวังไว้ ทำให้หน่วยงานเหล่านี้ต้องการเพิ่มระดับความเข้มงวดในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งความพยายามดังกล่าวอาจมองได้ว่าใช้ต้นทุนมากจนเกินไป และสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังอาจขัดกับบรรทัดฐานระหว่างประเทศในด้านอื่น โดยเฉพาะด้านการค้า ทั้งนี้ช่วงทศวรรษ 2020 ปัญหาเรื่องนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถูกทำให้เป็นประเด็นการเมือง ปรากฏเห็นด้วยว่า ประชาชนจำนวนไม่น้อยเริ่มคัดค้านกฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น ทำให้เกิดผลเสียต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลไทยในการจัดการปัญหาภายในประเทศ ควรอย่างยิ่งที่รัฐบาลไทยจะต้องทบทวนความคุ้มค่าของการกำหนดนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อีกครั้ง โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพตามหลัก SAFER เพื่อหามาตรการที่คุ้มทุนและมีประสิทธิผล การนำหลัก SAFER มาประยุกต์ใช้กับการออกแบบนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศจะหยั่งผลได้ดีกว่าเพื่อส่งเสริมทั้งการสาธารณสุขและเศรษฐกิจ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This research aims to examine the international public health norms and alcohol beverage policy in Thailand. The research delineates the creation of international norms by international organizations, which in addition to creating norms, also urge countries to act according to these norms. Countries that implement these norms face a clash between old and new norms. This research places an emphasis on analyzing the influence of international organizations as international norm makers on Thai alcohol beverage policy. the study found that international norms promoted by the World Health Organization have been successful. Consequently, Thailand currently has a strict alcohol beverage policy, but this strict policy has not been effective. Subsequently, these agencies want to continuously increase the level of strictness in controlling alcohol beverages. Such efforts can be viewed as too costly. Moreover, it may also contradict other international norms, particularly those of trade. During the 2020s, the alcohol beverage policy was politicized. It appears that more people are beginning to oppose alcohol beverage control laws. It is highly recommended that the Thai government reconsider the value of alcohol beverage policy. By considering the effectiveness of SAFER principles, the desirable policy gearing towards promoting both public health and the economy, based on cost effectiveness, may emerge.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
วราภรณ์นิลอุบล, พิชญ์พล, "บรรทัดฐานระหว่างประเทศด้านการสาธารณสุขกับนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในไทย" (2023). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 10892.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/10892