UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2019-01-01
Abstract
จังหวัดฉะเชิงเทราเป็นจังหวัดหนึ่งในพื้นที่ภาคตะวันออกที่มีแหล่งกำเนิดมลพิษ เพิ่มขึ้น เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการพัฒนาและความเหมาะสมของพื้นที่ชุมชนและภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มมากขึ้นมีแผนงานและโครงการพัฒนาพื้นที่โดยเข้าร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมในโครงการดำเนินการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2556 โครงการดังกล่าวได้จัดทำกิจกรรมและแผนงานสนับสนุนการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาเพื่อเข้าสู่เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและอยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ตามพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 ประกาศเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เพื่อดำเนินการพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกให้เป็นระบบและสอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการประกอบพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทันสมัย สร้างนวัตกรรม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีการวางผังเมืองรวมเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ตระหนักถึง ปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จึงกำหนดแนวทางในการบูรณาการเพื่อเฝ้าระวังแหล่งกำเนิด มลพษิ และเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติต่าง ๆ ตามประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ของจังหวัดฉะเชิงเทรา คือ เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมเพื่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ และชุมชนอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขโดยจัดให้มีการติดตามตรวจสอบวิเคราะห์ จัดทำบัญชีแหล่งกำเนิดมลพิษ พร้อมจัดทำแนวทางมาตรการในการเฝ้าระวัง แก้ไขปัญหา และเสริมสร้างประสิทธิภาพเครือข่ายภาคประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจในการเฝ้าระวังแหล่งกำเนิดมลพิษ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติจากแหล่งกำเนิดมลพิษ ทั้งนี้ ด้วยเจตนารมณ์ที่ต้องการให้สภาพแวดล้อมของจังหวัดอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.6.2.5
First Page
33
Last Page
39
Recommended Citation
ครุธน้อย, ลือชัย
(2019)
"การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการเฝ้าระวังปัญหาสิ่งแวดล้อมในจังหวัดฉะเชิงเทรา,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 6:
Iss.
2, Article 6.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.6.2.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol6/iss2/6