UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2019-01-01
Abstract
การนิยามคำว่าครอบครัวนั้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจและมีความแตกต่างหลากหลาย ครอบครัวเป็นหน่วยที่เล็ก และเป็นหน่วยพื้นฐานของหน่วยต่าง ๆ ของมนุษยชาติ ปัจเจกบุคคลตีความคำว่าครอบครัว แตกต่างกันด้วยปัจจัยและมุมมองต่าง ๆ ทั้งมุมมองด้านสายเลือด ทางประเพณี ทางวัฒนธรรม อีกทั้งมุมมองในเชิงสัญลักษณ์ หรือเชิงเปรียบเปรย และเป็นการยากที่จะนิยามครอบครัว "ทั่ว ๆ ไป" อย่างไรก็ตามความหลากหลายทางรูปแบบของครอบครัวยังเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ความก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์(Assisted Reproductive Technologies: ARTs) นั้นมีส่วนทำให้เกิดรูปแบบครอบครัวใหม่ ๆ โดยเฉพาะการทำให้พ่อแม่บางคนเลือกที่จะมีลูกโดยไม่ใช้วิธีทางธรรมชาติเลย พัฒนาการเหล่านี้ในทางวิทยาศาสตร์การเจริญพันธุ์เปลี่ยนแปลง และส่งผลต่อการตัดสินใจเรื่องการสร้างครอบครัว ซึ่งควรมีการพูดคุยถึงพัฒนาการเหล่านี้ในทุก ๆ ระดับ ทั้งในระดับนโยบายและระดับปัจเจก ซึ่งหมายรวมถึงเยาวชนด้วยเพราะเยาวชนเหล่านี้เป็นตัวแปรที่สำคัญว่าหน่วยครอบครัวของสังคมในภายภาคหน้านั้นจะเป็นอย่างไรการให้เยาวชนมีส่วนร่วมในบทสนทนาทางนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวกับครอบครัวและเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์จึงมีความจำเป็นและสำคัญบทความนี้กล่าวถึงมุมมองของเยาวชนไทยต่อเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ และอนาคตของคำว่าครอบครัว ในมิติด้านจริยธรรม กฎหมาย และสังคม (Ethical, Legal and Social Implications: ELSIs)โดยใช้กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม 3 ขั้นตอน
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.6.2.3
First Page
18
Last Page
25
Recommended Citation
สุวัณณาคาร, พริมา; ปาวา, ราวีณา; อุดมศรีสำราญ, ลักษิกา; and เกียรติพงษ์สาร, สรภพ
(2019)
"มุมมองของเยาวชนไทยต่อเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 6:
Iss.
2, Article 4.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.6.2.3
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol6/iss2/4