UNISEARCH (Unisearch Journal)
Publication Date
2019-01-01
Abstract
ถ่านชีวภาพ (biochar) เป็นวัสดุที่มีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก โครงสร้างประกอบด้วยคาร์บอนที่ยึดจับกันเป็นโครงสร้างอะโรมาติก (aromatic structure) ทำให้ถ่านชีวภาพเป็นวัสดุที่มีความเสถียรสูง (Schmidt & Noack, 2000;Lehmann, 2007; Glaser et al., 2002) จึงถูกย่อยสลายได้ยากในธรรมชาติ (Preston & Schmidt, 2006; Gul et al., 2015)ถ่านชีวภาพเป็นผลผลิตจากกระบวนการย่อยสลายมวลชีวภาพด้วยความร้อนที่อุณหภูมิตั้งแต่ 350-700 องศาเซลเซียสในสภาวะที่ไร้อากาศหรือมีอากาศเพียงเล็กน้อย หรือที่เรียกว่า กระบวนการไพโรไลซิส (Wijitkosum & Jiwnok, 2019;Sriburi & Wijitkosum, 2016; Brassard et al., 2016; Liu et al. 2014; Lehmann & Joseph, 2009) ทั้งนี้ คุณภาพของถ่านชีวภาพ ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบ (feedstock) และกระบวนการผลิต (process/procedures) (Cao et al., 2017;Sriburi & Wijitkosum, 2016; Graber et al., 2014) โดยวัตถุดิบที่นำมาใช้ผลิตถ่านชีวภาพส่วนใหญ่เป็นสารประกอบอินทรีย์ (Wijitkosum & Kallayasiri, 2015; Yooyen et al., 2015; Qambrani et al., 2017) ซึ่งในการศึกษาวิจัยเป็นการเลือกใช้วัสดุเหลือใช้จากเกษตรกรรม เช่น แกลบ เศษไม้ และเหง้ามันสำปะหลัง เป็นต้น
DOI
10.58837/CHULA.UNISEARCH.6.1.5
First Page
29
Last Page
34
Recommended Citation
วิจิตรโกสุม, เสาวนีย์
(2019)
"ความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้ถ่านชีวภาพเพื่อการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่เกษตรกรรมบนอาคารสูงในพื้นที่เมือง,"
UNISEARCH (Unisearch Journal): Vol. 6:
Iss.
1, Article 6.
DOI: 10.58837/CHULA.UNISEARCH.6.1.5
Available at:
https://digital.car.chula.ac.th/unisearch/vol6/iss1/6